การวิจัยและพัฒนาระบบบริการต้นแบบการช่วยเหลือผู้ป่วยวัณโรคและโรคเรื้อน ที่ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Main Article Content

Niramon Pimnumyen
Sureeporn Worasrihirun
Wanna Phusem

บทคัดย่อ

วัณโรคและโรคเรื้อนเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อทางเดินหายใจจากคนสู่คนได้ ผู้ป่วยที่รักษาไม่สำเร็จส่วนใหญ่มีปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ขาดระบบสนับสนุนและเครือข่ายทางสังคม การวิจัยเชิงปฎิบัติการในรูปแบบวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการต้นแบบการช่วยเหลือผู้ป่วยวัณโรคและโรคเรื้อนที่ประสบปัญหาทางสังคมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง พื้นที่ศึกษา 5 จังหวัด ประกอบด้วย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ สุโขทัยและตาก  ช่วงเวลาวิจัย ระหว่างปี 2557 – 2561 มี  5 ขั้นตอน 1) ปี 2557 วิเคราะห์สภาพปัญหาของวัณโรคและโรคเรื้อนในภาคเหนือตอนล่าง เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และทบทวนวรรณกรรมแนวคิดทฤษฎีการสนับสนุนทางสังคม เครือข่ายทางสังคม เพื่อพัฒนาระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบปัญหาทางสังคม 2)  ปี 2558 พัฒนาต้นแบบการช่วยเหลือทางสังคม ที่มาจากความร่วมมือของเครือข่ายทางสังคม ประกอบด้วยชุดกิจกรรม  เครื่องมือ แนวทาง และระบบการบริหารจัดการการช่วยเหลือทางสังคม  3) ปี 2559 ทดลองใช้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น และปรับปรุงต้นแบบให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ 4) ปี 2560 นำต้นแบบที่พัฒนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่และประเมินประสิทธิผล 5) ปี 2561 เผยแพร่ต้นแบบในวารสารวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยครั้งนี้ภาคเหนือตอนล่างมีระบบบริการต้นแบบการช่วยเหลือผู้ป่วยวัณโรคและโรคเรื้อนที่ประสบปัญหาทางสังคม ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือและรักษาวัณโรคสำเร็จร้อยละ 97 ผู้ป่วยโรคเรื้อนได้รับการสงเคราะห์และฟื้นฟูสภาพความพิการ ร้อยละ 100 ผู้ป่วยทั้งสองโรคได้รับการดูแลทางสังคมจากเครือข่ายทางสังคมภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ข้อเสนอเพื่อการวิจัยพัฒนาต่อในด้านการจัดบริการต้นแบบในการช่วยเหลือทางสังคมแก่ผู้ป่วยต่างชาติ ไร้สิทธิที่ป่วยด้วยวัณโรคและโรคเรื้อนในประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค.แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.กรุงเทพมหานคร.

2. สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค.2553.คู่มือการวินิจฉัยและรักษาโรคเรื้อน.พิมพ์ครั้งที่ 7.โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร.

3. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2561.แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในประเทศไทย.บริษัทบียอนด์ เอ็นเทอไพรซ์ จำกัด: กรุงเทพมหานคร.

4. World Health Organization. Global Tuberculosis Report 2017. France.

5. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก.รายงานวัณโรคจากฐานข้อมูล TBCM. วันที่ 15 ตุลาคม 2557.

6. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2559. ผลการดำเนินงาน ควบคุมวัณโรค ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2552-2558. สำนักวัณโรค; กรุงเทพมหานคร.

7. Niramon Pimnumyen. Identifying grey area and people in between: a case of MDR-TB. Oral presentation in Asia Pacific Sociology Association (APSA) Conference.TRANSFORMING SOCIETIES: CONTESTATIONS AND CONVERGENCES IN ASIA AND THE PACIFIC In conjunction with 50th Anniversary of the Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 15‐16 February, 2014 Chiang Mai, Thailand.

8. นิรมล พิมน้ำเย็น.2553.แนวทางการกำหนดนโยบายการช่วยเหลือทางสังคมของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณทิต สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

9. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก.รายงานโรคเรื้อนจากฐานข้อมูล UCHA. วันที่ 31 ธันวาคม 2557.

10. สงกรานต์ ภู่พุกก์ คงพร คุปตาภา สินชัย คเชนทร์ จินตนา วรสายัณห์ จันทนา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต.การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนโดยชุมชน. http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1171?locale-attribute=th วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มีนาคม 2555.

11. ศิรามาศ รอดจันทร์ ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์ พจนา ธัญญกิตติกุล นพพร ศรีกำบ่อ เพชรรัตน์ อุณภาคมงคล ภัสราภรณ์ แก้วไทรนันท์ นิอร อริโยทัย นฤมล ใจดี. การสำรวจความพิการปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารกรมควบคุมโรค ปีที่ 37 ฉบับ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2554.

12. สงกรานต์ ภู่พุกก์ คงพร คุปตาภา สินชัย คเชนทร์ จินตนา วรสายัณห์ จันทนา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต.การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนโดยชุมชน. http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/1171?locale-attribute=th วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มีนาคม 2555.

13. กรมควบคุมโรค.2561. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560 – 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1.สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.กรุงเทพมหานคร

14. มินตกาญจน์ ชลอรักษ์, รัชนี สรรเสริญ, ฉันทนา จันทวงศ์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, 2547.ปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคที่บ้านของผู้ดูแลในเขตภาคตะวันออก.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลชุมชน) บัณฑิตวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยบูรพา.

15. ทัศนีย์ ค้ำชู, มาลี โรจนพิบูลย์สถิตย์. ผลการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยระบบยามาตรฐานระยะสั้น.The 4th Annual Northeast Pharmacy Research Conference of 2012 วันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2555. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

16. ฉันทนา ชาวดร,เพชรไสว ลิ้มตระกูล.การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอด โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ 30 ฉบับที่ 3 : กรกฎาคม - กันยายน 2555.หน้า 78 –86.

17. จิระวรรณ พึ่งสกุล. 2548. อัตราการขาดยาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในระบบประกันสังคมของโรงพยาบาลเอกชนจังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

18. Sheldon Cohen, Thomas Ashby Wills. Stress, Social support, and Buffering Hypothesis. Psychological Bulletin. 1985, Vol. 98, No.2, 310-357.

19. Barbara A. Israel and Kathleen A. Rounds.1987. Social Networks and Social Support; a Synthesis for health educators.

20. นิรมล พิมน้ำเย็น สุรีพร วรศรีหิรัญ มนัสวินีร์ ภูมิวัฒน์. รูปแบบการบริการที่เป็นเลิศในการดูแลรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. นำเสนอแบบบรรยายใน การสัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ ประจำปี 2559 วันที่ 27-29 มกราคม 2559 ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร.

21. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แบบบันทึกความข้อมูลผู้ประสบปัญหาทางสังคม. http://www.oss.dsdw.go.th/oss_new/downloadfile.php.วันที่สืบค้น29 เมษายน 2561.

22. United Nation.2018. Sustainable and Development.https://sustainabledevelopment.un.org Retrieved 16 May 2018.

23. อรทัย ศรีทองทำ, อมรรัตน์ จงตระการสมบัติ, ศริวรรณ อุทธา, อุบลศรี ทาบุดดา, ชุติมา ผลานันท์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดยา และการรักษาล้มเหลวของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในพื้นที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 26 ฉบับเพิ่มเติม กันยายน – ตุลาคม 2560. หน้า S289 – S298.

24. Valerie A Paz-Soldán, Rebecca E Alban, Christy D Jones and Richard A Oberhelman. The provision of and need for social support among adult and pediatric patients with tuberculosis in Lima, Peru: a qualitative study. BMC Health Services Research 2013 13:290.

25. USAID. Helping Pay the Bills When TB patients Cannot : “Social Support” in Bangladesh.https://www.usaid.gov/what-we-do/global-health/tuberculosis/resources/success-stories/helping-pay-bills-when-tb-patients. Retrieved 16 May 2018.

26. W. M. Jakubowiak, E. M. Bogorodskaya, E. S. Borisov, D. I. Danilova, E. K. Kourbatova. Risk factors associated with default among new pulmonary TB patients and social support in six Russian regions. INT J TUBERC LUNG DIS 11(1):46–53.

27. ฐาณิญา แสนศรี.(2558). การศึกษาสาเหตุการขาดยาของผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ปีงบประมาณ 2558. https//:odpc4.ddc.moph.go.th>documents. วันที่สืบค้นข้อมูล วันที่ 16 พฤษภาคม 2561.

28. Julianne Holt-Lunstad, Timothy B. Smith, J. Bradley Layton. Social Relationships and Mortality Risk: A Meta-analytic Review. PLoS Medicine. July 2010 Volume 7 Issue 7. 1-20.

29. วรรณา ภู่เสม, นันท์นภัส ยุทธไธสงค์. สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.9 พิษณุโลก. ปีที่3 ฉบับที่1. ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2559.หน้า 21-32.

30. ดวงใจ ไทยวงศ์ เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์.ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้พิการจากโรคเรื้อนในนิคมโรคเรื้อนแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2560. 19-29.