ประสิทธิภาพการจัดการระดับความเสี่ยงทางการเงินในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

Main Article Content

Narisara Neerakupt

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการระดับความเสี่ยงทางการเงินในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์วิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) กลุ่มตัวอย่าง เป็นข้อมูลแผนทางการเงิน และข้อมูลจากระบบบัญชีเกณฑ์คงค้างของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ข้อมูลในช่วง 3 ปีงบประมาณ คือ 2558 - 2560 เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลแผนทางการเงินแบบบันทึกข้อมูลเกณฑ์การวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงทางการเงิน 7 ระดับ และแบบบันทึกข้อมูลประสิทธิภาพการจัดการทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา  ได้แก่  จำนวน ร้อยละ  สัดส่วน และอัตรา  ผลการวิจัย: 1) ด้านแผนทางการเงินผลการวิจัย พบว่ารายได้รวมในปี 2558 และ 2559 มีผลการดำเนินงานสูงกว่าแผนร้อยละ 0.29 และ 3.86 ตามลำดับ แต่ปี 2560 ต่ำกว่าแผนร้อยละ -0.86 ค่าใช้จ่ายรวมมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าแผนในปี 2559 ร้อย -1.10 ในขณะที่ปี 2558 และ 2560 สูงกว่าแผนร้อยละ 2.68 และ 6.90  ตามลำดับ 2) ด้านการจัดระดับความเสี่ยงทางการเงิน พบว่ากลุ่มแสดงความคล่องตามสภาพสินทรัพย์ และกลุ่มแสดงระยะเวลาเข้าสู่ปัญหาการเงิน มีค่าน้ำหนักความรุนแรงเท่ากับ 0 ทั้ง 3 ปีงบประมาณ  สำหรับกลุ่มแสดงความมั่นคงทางการเงินมีค่าน้ำหนักความรุนแรงเท่ากับ 0, 0 และ 1 ในปีงบประมาณ 2558-2560 ตามลำดับ โดยภาพรวมระดับความเสี่ยงทางการเงินของ ปีงบประมาณ 2558,  2559,  2560  เท่ากับ 0, 0 และ 1 ตามลำดับ 3) ด้านประสิทธิภาพการจัดการทางการเงิน พบว่าประสิทธิภาพการทำกำไรมีค่าต่ำสุด คือ -6.81 เท่าในปีงบประมาณ 2560 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์มีค่าต่ำสุด คือ-2.98 เท่า ในปีงบประมาณ 2560 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้เกิน 60 วัน ทั้ง 3 ปีงบประมาณของลูกหนี้สิทธิเบิกจ่ายตรง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ประกันสังคม, UC-AE, UC-HC, UC-DMI และUC-OPD นอก CUP ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ค่ายา, เวชภัณฑ์มิใช่ยาและวัสดุการแพทย์, วัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์เกินกว่า 90วัน เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2560 สำหรับ การบริหารสินค้าคงคลังเมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2560 นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด  สถานะทางการเงินตามหลักเกณฑ์ 7 Plus Efficiency Score ปีงบประมาณ 2558-2560 เท่ากับ 0C, 0C และ 1D ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ:   ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านประสิทธิภาพการเพิ่มรายได้และควบคุมค่าใช้จ่าย ด้านบริหารการเงินการคลังควรพัฒนาสาระสนเทศด้านลูกหนี้และการเรียกเก็บเพื่อเพิ่มกระแสเงินสดรับ การจัดสมดุลระหว่างกระแสเงินสดจ่ายและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในการจ่ายชำระหนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สุทธิพันธุ์ ถาวรวงษ์ และฉัตรพงศ์ วัฒนจิรัฏฐ์. บริหารความ (1) : ความเสี่ยงทางการเงิน ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพธุรกิจ 2551 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/TSI-Article_RiskMgt_001.pdf

2. กลุ่มบริหารการเงินการคลัง เขตสุขภาพที่ 10. หลักเกณฑ์การวัดสถานะการเงินระดับ 7 Plus Efficiency Score ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://spbket10.com/cfo/images/files/Meetting5-6jan60/4.K-Danuphop7EfficiencyPlus2560_V1.pdf

3. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กำหนดการส่งข้อมูลการเงินของหน่วยบริการ [อินเทอร์เน็ต] 2560. [เข้าถึงเมื่อ30 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://hfo58.cfo.in.th/uploads/กำหนดาการส่งข้อมูลการเงิน.pdf

4. กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลบัญชีหน่วยงาน/ลูกข่าย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2561] เข้าถึงได้จาก: https://hfo60.cfo.in.th/GetRawData.aspx

5. Karen Berman , Joe Knight และ John Case ผู้เขียน คมสัน ขจรชีพพันธุ์งาม และ วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ ผู้แปล.ฉลาดรู้ทางการเงิน พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร; บริษัทเอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด. 2552. หน้า 217-324.