รูปแบบการค้นหาวัณโรคในเรือนจำ เขตสุขภาพที่ 11
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional survey study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการคัดกรองวัณโรคปอดในเรือนจำที่ทำให้ค้นหาได้รวดเร็วและจำเพาะที่สามารถวินิจฉัยวัณโรคปอดและเข้าสู่ระบบการรักษาได้รวดเร็วของเขตสุขภาพที่ 11 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ต้องขังในเรือนจำในพื้นที่เขต
สุขภาพที่ 11 จำนวน 14 เรือนจำที่ได้รับการเอกซเรย์ในวันที่รถเอกซเรย์เข้าไปทำการเอกซเรย์ในเรือนจำทุกราย ระหว่างพฤษภาคม – กรกฎาคม 2560 จำนวน 24,249 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1.รูปแบบการคัดกรองวัณโรคเชิงรุกโดยเอกซเรย์ทรวงอกผู้ต้องขังร่วมกับการคัดกรองด้วยวาจาทุกราย จำนวน 24,249 ราย พบมีอาการสงสัยวัณโรคปอด 1,522 ราย (ร้อยละ 6.3) ผลการเอกซเรย์ผิดปกติเข้าได้กับวัณโรคปอด ร้อยละ 5.2 ส่งตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบเชื้อวัณโรค 70 ราย ส่งตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคในเสมหะ(gene X-pert) พบเชื้อวัณโรค 187 ราย สรุปในการคัดกรองในครั้งนี้ วินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด จำนวน 264 ราย คิดเป็นอัตราความชุก 1,088.7 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าประชากรทั่วไป 6.4 เท่า 2. รูปแบบการคัดกรองวัณโรคเชิงรุกโดยคัดกรองด้วยวาจาก่อน ถ้ามีอาการสงสัยก่อนการเอกซเรย์ทรวงอก ผลการเอกซเรย์ผิดปกติเข้าได้กับวัณโรคปอด 435 ราย ร้อยละ 1.8 ส่งตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบเชื้อวัณโรค 25 ราย ส่งตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคในเสมหะ (gene X-pert) พบเชื้อวัณโรค 50 ราย สรุปวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคปอด จำนวน 74 ราย คิดเป็นอัตราความชุก 305.2 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสามารถค้นพบผู้ป่วยวัณโรคปอดได้ น้อยกว่ารูปแบบที่ 1 3.6 เท่า สรุปการคัดกรองวัณโรคปอดด้วยการเอกซเรย์ปอด เป็นวิธีที่มีความไวสูงกว่าการคัดกรองด้วยวาจา แม้ความจำเพาะไม่สูงมาก แต่สามารถใช้เป็นเครื่องมือคัดกรองร่วมกับการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการชันสูตรเพื่อยืนยันการตรวจพบวัณโรค การพิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสมในการคัดกรองวัณโรคในเรือนจำในเขตสุขภาพที่ 11 อาจต้องเลือกตามบริบทและความพร้อมของทรัพยากรทั้ง งบประมาณ และกำลังคนที่มีในแต่ละเรือนจำหรือผสมผสานระหว่างรูปแบบที่ 1 และ 2 ควรกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญในการค้นหาวัณโรคในเรือนจำ และมีการค้นหาอย่างต่อเนื่อง
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2.WHO. Global tuberculosis report 2014. [online] [cited 2016 Apr 5].Available from:
http://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/tb14_web_ready_v3.pdf
3.WHO. Global tuberculosis report 2013. [online] [cited 2016 Apr 5]. Available from:
http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/91355/1/9789241564656_eng.pdf
4.de Albuquerque Mde F, Ximenes RA, Lucena-Silva N, de Souza WV, Dantas AT, Dantas OM, et al. Factors associated with treatment failure, dropout, and death in a cohort of tuberculosis patients in Recife, Pernambuco State, Brazil. Cad Saude Publica. 2007; 23(7):1573-1582.
5. สำนักวัณโรค. ระบบบันทึกข้อมูลวัณโรครอบ 3 เดือน. [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน
2559].เข้าถึงได้จาก: http://www.tbthailand.org /data/
6. ธีระพงษ์ จ่าพุลี. พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอชุมพลบุรีจังหวัดสุรินทร์. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
7. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข.การคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรคและ
วัณโรคดื้อยา : กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2560.
8. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.แนวทางการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก (Active case finding) ในการป้องกันควบคุมวัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส โรคเรื้อน มาลาเรีย และโรคพยาธิใบไม้ตับ:กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
9. ทศพร โมระเสริฐ.โครงการกวาดล้างวัณโรคในเรือนจำกลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี.ประชุมประสานความร่วมมือการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคในเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี; 14 ธันวาคม 2558; ห้องประชุมเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี, จังหวัดสุราษฎร์ธานี.
10.สำนักวัณโรค. รายงานการคัดกรองวัณโรคในเรือนจำ ปี 2560. [ออนไลน์] [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2561].เข้าถึงได้จาก: http://www.tbthailand.org/prison/
11.กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. ความชุกของวัณโรคปอดในผู้ต้องขังเรือนจำ บริเวณชายแดนไทย- พม่า จังหวัดตาก.วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต.2548:27:29-34.