การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตสุขภาพที่ 2

Main Article Content

นิพนธ์ เสียงเพราะ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเขตสุขภาพที่ 2 เก็บข้อมูลจากแบบสำรวจในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2559 โดยวิธีการสุ่มแบบมีระบบ  พบว่ามีจำนวน 81 แห่งที่ตอบรับแบบสอบถาม (คิดเป็นอัตราตอบรับร้อยละ 69.23 ของเทศบาลทั้งหมดในเขตสุขภาพที่ 2) ซึ่งประกอบด้วยเทศบาลนคร 2 แห่ง (ร้อยละ 100.0 ของเทศบาลนครทั้งหมด) เทศบาลเมือง 6 แห่ง (ร้อยละ 66.67 ของเทศบาลเมืองทั้งหมด) และเทศบาลตำบล 73 แห่ง (ร้อยละ 68.86 ของเทศบาลตำบลทั้งหมด) เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา พบว่า เทศบาลในจังหวัดสุโขทัยตอบแบบสอบถามมากที่สุดร้อยละ 95.23 เทศบาลไม่มีการบริการเก็บขนสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 50.6 (95% CI: 43.9, 57.2) อนุญาตให้เอกชนดำเนินการเก็บขนสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 35.8 (95% CI: 31.1, 44.0) เทศบาลไม่มีการบริการกำจัดสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 43.2 (95% CI: 36.8, 49.8) อนุญาตให้เอกชนดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 40.7 (95% CI: 36.1, 49.2) เทศบาลไม่ทราบว่าสิ่งปฏิกูลที่อนุญาตไว้มีการกำจัดอย่างไร ร้อยละ 44.4 (95% CI: 38.7, 51.5), ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ใช้งานในเขตสุขภาพที่ 2 มี 4 ระบบ โดยดำเนินการ 5 แห่ง คือ ระบบบ่อหมักไร้อากาศ พบที่ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์  ระบบลานทรายกรอง    พบที่ เทศบาลเมืองสวรรคโลก  และเทศบาลนครแม่สอด  ระบบบ่อปรับเสถียร พบที่ เทศบาลตำบลบ้านแก่ง และทิ้งที่กำจัดมูลฝอยถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พบที่ เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี เทศบาลมีการออกเทศบัญญัติเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 76.5 (95% CI: 70.5, 81.8) เทศบาลมีการร้องเรียนเรื่องการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลเพียง  
ร้อยละ 2.5 และเทศบาลมีแผนก่อสร้างระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 3.7  ดังนั้นเพื่อให้เกิดการขยายผล ควรผลักดันการบังคับใช้กฎหมายของเทศบาล ซึ่งการกำหนดบทบาทหน้าที่ การจัดการสิ่งปฏิกูลโดยการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น และให้มีการศึกษา    หารูปแบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เหมาะสมตามบริบทพื้นที่ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูลแบบครบวงจรโครงการตามแนวพระราชดำริ. ปทุมธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข; 2535.
4. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. ระเบียบวิธีการวิจัยสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฮาส์ ออฟ เคอร์มีส; 2547.
5. สุชาดา กีรนันท์.ทฤษฎีและวิธีการสำรวจตัวอย่าง.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
6. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฎิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เล่มที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี:โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.
7. กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555.
8. ไฉไล ช่างดำและคณะ. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในพื้นที่สาธารณสุขเขต 11และเขต 14. กลุ่มพัฒนาวิชาการส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 7; 2548.
9. ปริยะดา โชควิญญูและสัจจมาน ตรันเจริญ. สำรวจสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย: 2551.
10. วีระศักดิ์ สืบเสนาะและเลิศชาย เจริญธัญรักษ์. การจัดการสิ่งปฏิกูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2550; 10: 32-39.
11. สุภาภรณ์ หลักรอด, เมธี ชุ่มศิริ และธิดารัตน์ ดำรงค์สอน. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตภาคกลางตะวันตก. ราชบุรี : ศูนย์อนามัยที่ 4; 2549.
12. นัทฐ์หทัย ไตรฐิ่นและคณะ. การศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือการประเมินผลการใช้กฎหมายสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับเทศบาล. รายงานการศึกษา ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: 2551.
13. สุภาวณีย์ อมรจิตสุวรรณ. การควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายและความเหมาะสมของการตราเทศบัญญัติในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง: 2553.