นวัตกรรมสำหรับการฟื้นสภาพด้วยวิธีทางการแพทย์ (Innovation for Medical Rehabilitation)
Keywords:
นวัตกรรมสำหรับการฟื้นสภาพด้วยวิธีทางการแพทย์Abstract
ปัจจุบันหากไม่กล่าวถึงนวัตกรรม ก็นับว่าล้าหลัง Thailand Quality Assurance (TQA) criteria for performance excellence ระบุว่า
“นวัตกรรม” หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ ที่อาจเป็นการปรับใช้ของเดิมเพื่อการใช้งานในรูปแบบใหม่หรือการใช้เทคโนโลยีที่เป็นของใหม่และส่ง ผลให้เกิดการเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดด้านผลลัพธ์, ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการทำงานดังนั้น เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร ฉบับแรกของปี 2560 นี้ จึงนำเสนอนิพนธ์ต้นฉบับที่เกี่ยวกับการวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่ผลิตโดยวิศวกรไทย เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพและ/หรือประสิทธิผลก่อนนำมาใช้จริง สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว ได้แก่ การปรับโต๊ะกายบริหาร หรือ NK table ให้สามารถใช้สำหรับการออกกำลังกายแบบไอโซคิเนติก แทนการใช้เครื่องมือราคา
แพงที่นำเข้าจากต่างประเทศ และหุ่นยนต์เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวมือและแขนของผู้ป่วยอัมพาต ที่คาดว่าจะใช้ทดแทนผู้ให้การบำบัดได้ ผลจากการศึกษาวิจัยที่แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูนี้ มีส่วนช่วยคือการป้อนข้อมูลสะท้อนกลับให้ผู้ประดิษฐ์ ได้เห็นข้อบกพร่องที่จะนำไปปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงในงานเวชกรรมฟื้นฟูต่อไปนอกจากสิ่งประดิษฐ์ วารสารฉบับนี้นำเสนอผลการศึกษาแบบประเมินของต่างประเทศ ที่ถูกนำมาใช้ในเวชปฏิบัติและในงานเวชกรรมฟื้นฟู ที่ทำให้เกิดมาตรฐานหรือเกณฑ์การวินิจฉัยที่เหมาะสมกับคนไทย เช่น แบบทดสอบภาพซับซ้อนเรย์-ออสเตอไรท์ เพื่อยืนยันความบกพร่องด้านการรับรู้และวางแผนการเคลื่อนไหวด้านมิติสัมพันธ์ที่อาจเกิดกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, แบบสอบถาม PHQ-9 และ PHQ-2 เพื่อคัดกรองโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย เป็นต้น
ผลงานวิจัยที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีบทบาทช่วยพัฒนานวัตกรรมและกระบวนการทำงานของกลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูให้ทันสมัย และเกิดการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่ดี