อัตราการผ่าตัดกระดูกสันหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดที่ได้ รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตันในโรงพยาบาล ศรีนครินทร์

Authors

  • วรรณกานต์ เพ็ชรรุ้งรัตน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เสมอเดือน คามวัลย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กิติวรรณ วิปุลากร ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

กระดูกสันหลังคดในเด็กวัยรุ่น, อุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตัน, การปฏิบัติตามคำแนะนำ, adolescent idiopathic scoliosis (AIS), Boston-style underarm brace, patient compliance

Abstract

Rate of Spinal Surgery in Adolescent Idiopathic Scoliosis Patients Treated with Boston-Style Underarm Brace in Srinagarind Hospital

Petroongrad W*, Kharmwan S*, Vipulakorn K**

*Department of Rehabilitation Medicine,

**Department of Orthopedics, Faculty of Medicine, Khonkaen University

Objective: To determine rate of spinal surgery in adolescent idiopathic scoliosis (AIS) patients after Boston-style underarm brace treatment.

Study design: observational retrospective study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khonkaen University.

Subjects: All AIS patients were treated with Boston-style underarm brace at Srinagarind Hospital between 1997-2011.

Methods: Medical records were reviewed and subjects were interviewed with questionnaire

Results: There were 54 AIS patients treated with Boston-style underarm brace. Of these, 28 patients lost follow up. Twenty six patients fulfilled the inclusion criteria. Among them 24 were females (92%). Spinal surgery was done in 19 patients whereas 7 reached skeletal maturity without surgical indication. Rate of spinal surgery in AIS patients was 73%. Mean Cobb’s angle at first visit was 37.5 (SD 5.5) degrees and 27.6 (SD 3.1) degrees in surgical and non-surgical groups respectively. Mean Cobb’s angle at time of surgery was 49.2 (SD 9.1) degrees. Ten of 14 patients reported brace wearing time less than12 hours per day which reflected a low patient compliance. All patients reported discomfort while wearing brace.

Conclusion: Surgical rate in AIS patients treated with Boston-style underarm brace at Srinagarind Hospital was 73%. Cobb’s angle at first visit was higher in surgical group. Low patient compliance and discomfort while wearing brace were reported in most of the patients.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการผ่าตัดกระดูกสันหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตัน (Boston-style underarm brace)

รูปแบบการวิจัย: การสังเกตและเก็บข้อมูลย้อนหลัง (observational retrospective study)

สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตัน

วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและเก็บข้อมูลบางส่วนโดยการสัมภาษณ์หรือส่งแบบสอบถามให้ผู้ป่วยตอบกลับ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตัน ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์รวม 54 ราย มี 28 รายขาดการมาติดตามการรักษาหลังจากได้รับเสื้อเกราะพยุงหลังจึงเหลือจำนวนผู้ป่วยที่ทำการศึกษาทั้งหมด 26 ราย เป็นเพศหญิง 24 ราย (ร้อยละ 92.3) และ เพศชาย 2 ราย (ร้อยละ 7.7) มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด 19 ราย (ร้อยละ 73.1) และ 7 ราย (ร้อยละ 26.9) เข้าสู่ภาวะกระดูกเจริญเติบโตเต็มที่และไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยการผ่าตัด ค่าเฉลี่ยมุมกระดูกสันหลังคดเมื่อมารับการตรวจรักษาครั้งแรกคือ 37.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.5) องศา และ 27.6 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.1) องศา ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้และไม่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังตามลำดับ ค่าเฉลี่ยมุมกระดูกสันหลังคดในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดคือ 49.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.1) องศา และผู้ป่วยจำนวน 10 ราย จากทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม 14 ราย ใส่อุปกรณ์พยุงหลังน้อยกว่าวันละ 12 ชั่วโมง บ่งบอกถึงการปฏิบัติตามคำแนะนำต่ำและผู้ป่วยทุกรายมีปัญหาอึดอัดไม่สบายเมื่อใส่อุปกรณ์พยุงหลัง

สรุป: อัตราการผ่าตัดกระดูกสันหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดที่ได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์พยุงหลังชนิดบอสตัน ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์เท่ากับร้อยละ 73.1 โดยขนาดมุมกระดูกสันหลังคดแรกรับในกลุ่มที่ต้องผ่าตัดมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มที่ไม่ต้องผ่าตัด และผู้ป่วยเกือบทั้งหมดใส่อุปกรณ์พยุงหลังได้ไม่ครบจำนวนชั่วโมงตามที่แพทย์แนะนำ และเกิดปัญหาจากการใส่อุปกรณ์พยุงหลังอีกด้วย

Downloads