การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุโภชนาการ ของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง

Authors

  • ธิดารัตน์ โลนันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง, ภาวะทุโภชนาการ, ความชุก, chronic spinal cord injury, malnutrition, prevalence

Abstract

Prevalence of Malnutrition and Related Factors in Persons with Chronic Spinal Cord Injury

Lonan T, Tongprasert S, Kovindha A

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To study the prevalence of malnutrition and related factors in persons with chronic spinal cord injury (SCI)

Study Design: A cross-sectional descriptive study

Setting: Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Subjects: One hundred Thais with chronic SCI (at least 1 year post injury, age at least 18 years) visited at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital during July 1st, 2011 - August 31st, 2012.

Methods: Subjects completed the International Spinal Cord Society (ISCoS) core data set, eating behavior and related factors questionnaires. Their body weight and height were measured to assess nutritional status. All data were then analyzed for prevalence of malnutrition and related factors.

Results: There were 74 males and 65% was paraplegic (AIS-A, B, C). Mean age was 41.78 years (S.D. 13.05) and the mean duration of injury was 9.64 years (S.D. 8.63). When classifying the nutritional status, 25% was underweight (BMI <18.50 kg/m2), 34% was normal (BMI 18.50-22.00 kg/m2), 23% was overweight (BMI 22.01-25.00 kg/m2) and 18% was obese (BMI >25.00 kg/m2). The mean BMI of all AIS D group was significantly higher than other groups (p=0.034). Gender is a significant factor related to the nutritional status (p=0.022). Regarding eating behavior, 3/4 of the SCI persons had adequate and proper foods, however half ate raw foods.

Conclusion: The majority of persons with chronic spinal cord injury were malnourished, especially overweight and obese although most of them reported of eating proper foods. Motor useful spinal cord injured persons seem to have higher body mass index than others. Gender was the only factor related with nutritional status.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุโภชนาการของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง

สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้พิการสัญชาติไทยที่บาดเจ็บไขสันหลังมา
ไม่น้อยกว่า 1 ปีและอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจ
ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ถึง 31 สิงหาคม 2555

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลทั่วไปตาม International Spinal Cord Society (ISCoS) core data set, ประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง เพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย; ประเมินปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการทานอาหาร; หาความชุกของภาวะทุโภชนาการ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย, พฤติกรรมการทานอาหารและภาวะทุโภชนาการ

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 100 คน เป็นชาย 74 คน, หญิง 26 คน, อายุเฉลี่ย 41.78 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.05), เป็นมานานเฉลี่ย 9.64 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.63), ร้อยละ 25 เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์แขนขาสองข้าง (AIS-A, B, C), ร้อยละ 65 เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์ครึ่งล่าง (AIS-A, B, C) และร้อยละ 10 เป็นอัมพฤกษ์ (AIS-D) ทั้งนี้ร้อยละ 25
มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วงภาวะน้ำหนักต่ำ (ดัชนีมวลกาย<18.50 กก.ต่อตร.ม.), ร้อยละ 34 มีภาวะน้ำหนักปกติ (ดัชนีมวลกาย 18.50-22.00 กก.ต่อตร.ม.), ร้อยละ 23 มีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย 22.01-25.00 กก.ต่อตร.ม.) และร้อยละ 18 มีภาวะอ้วนเกิน (ดัชนีมวลกาย >25.00 กก. ต่อ ตร.ม.) นอกจากนี้ยังพบว่าดัชนีมวลกายของผู้ป่วยมีความสัมพันธ์กับระดับการเป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์ อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.034) และระดับภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์กับเพศ (p=0.022) โดย 3 ใน 4 ของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังรับประทานอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ แต่ก็พบว่ามีครึ่งหนึ่งที่รับประทานเนื้อสัตว์สุก ๆ ดิบ ๆ

สรุป: ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังมีความชุกของภาวะทุโภชนาการมากกว่าภาวะโภชนาการปกติ ส่วนใหญ่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน กลุ่มผู้พิการที่เป็นอัมพฤกษ์ (AIS-D) มีดัชนีมวลกายสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ แม้ส่วนมากระบุว่ารับประทานที่เหมาะสมและเพียงพอ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการคือ เพศ

Downloads