การศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกาย แบบสั่นทั้งตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าชีวเคมีกระดูกใน กระแสเลือด ในหญิงวัยหมดประจำเดือน: รายงานผลเบื้องต้น

Authors

  • รุจิรา พันธุ์วิทยากู ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ฉกาจ ผ่องอักษร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Keywords:

เครื่องออกกำลังกายแบบสั่นทั้งตัว, ค่าชีวเคมีกระดูก, วัยหมดประจำเดือน, whole body vibration, bone markers, osteocalcin, P1NP, beta CTX, beta-crosslaps, postmenopause

Abstract

The Effect of Whole Body Vibration Exercise on Changing of Serum Biological Bone Markers in Postmenopausal Women: a Preliminary Report

Phanwittayakool R., Pongurgsorn C.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital

Objective: To assess the effects change of biological bone markers (BBMs) after attend whole body vibration training.

Design: Before-after study, preliminary report

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital

Subjects: Women meeting at least 3 years postmenopausal criteria with no underlying disease or taking medication that affect to bone metabolism.

Methods: Whole body vibration training was performed at 20 Hz frequency, vertical amplitude 1.2 mm, acceleration 0.97 g, 1 minute/cycle, 6 cycles/day, 3 days per week until 12 weeks. Serum biological bone markers - beta CTX, P1NP and osteocalcin were assessed at baseline, 4 weeks and 12 weeks after training.

Results: Seventeen subjects completed the protocol. Baseline serum BBMs: beta-CTX, P1NP and osteocalcin were 0.38, 46.12 and 23.99 ng/ml respectively. After 4 weeks of training, the biological bone markers showed 0.39, 48.94 and 25.73 ng/ml. At the end of the study, the results of serum biological bone markers were 0.38, 45.26 and 24.88 ng/ml. The change of these bone markers were not significant (p > 0.05).

Conclusion: Whole body vibration exercise in postmenopausal women showed insignificant change of bone turnover markers after 4 and 12 weeks of exercise.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าชีวเคมีกระดูก (biological bone markers, BBMs) ของหญิงวัยหมดประจำเดือนหลังการออกกำลังกาย ด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบสั่นทั้งตัว

รูปแบบการวิจัย: Before-after study, preliminary report

สถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช

กลุ่มประชากร: อาสาสมัครเพศหญิงปกติ อายุไม่เกิน 70 ปีที่ หมดประจำเดือนอย่างน้อย 3 ปี นับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย และไม่มีโรคหรือรับประทานยาที่มีผลต่อเมตะบอลิซึมของกระดูก

วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการวิจัยออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบสั่นทั้งตัว ที่ความถี่ 20 Hz, ระยะทางในการเคลื่อนขึ้นลงของแท่นยืน (vertical amplitude) 1.2 มม. ความเร่งในการสั่น 0.97 เท่าของแรงโน้มถ่วงของโลก รอบละ 1 นาที รวม 6 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ นาน 12 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดค่า BBMs ได้แก่ carboxy-terminal cross-linking
telopeptide of type I collagen (beta-CTX), amino-terminal propeptide of type I collagen (P1NP) และ osteocalcin ที่ก่อนเริ่มออกกำลังกาย หลังออกกำลังกายเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และหลังออกกำลังกายครบ 12 สัปดาห์

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 17 คน ค่าเฉลี่ยของค่า BBMs ซึ่งได้แก่ beta CTX, P1NP และ osteocalcin ช่วงก่อนออกกำลังกายเท่ากับ 0.38, 46.12 และ 23.99 นก. ต่อมล. ตามลำดับ หลังออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบสั่นทั้งตัวมีการเปลี่ยนแปลงของค่า BBMs ที่ 4 สัปดาห์ เท่ากับ 0.39, 48.94 และ 25.73 นก. ต่อ มล. และ 12 สัปดาห์เท่ากับ 0.38, 45.26 และ 24.88 นก. ต่อ มล. ตามลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของค่า BBMs ทั้งสามไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05)

ผลสรุป: การออกกำลังกายด้วยเครื่องออกกำลังกายแบบสั่นทั้งตัวในหญิงวัยหมดประจำเดือน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าชีวเคมีกระดูกอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งช่วงหลังออกกำลังกายที่ 4 และ 12 สัปดาห์

Downloads