ต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่โรงพยาบาล ในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง

Authors

  • ศุภชัย ตังรัตนพิทักษ์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • อภัสนี บุญญาวรกุล กองเวชศาสตร์อายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ศิรินาถ ตงศิริ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิภู กำเหนิดดี กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

ต้นทุนประสิทธิผล, โปรแกรมการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, Cost-effectiveness, Hospital-based aerobic exercise program, Type II diabetes

Abstract

Cost-effectiveness of Hospital-based Aerobic Exercise Program in Persons with Type 2 Diabetes Mellitus

Tangrattanapitak S*, Boonyavarakul A**, Tongsiri S***, Kumnerddee W*

*Dept. of Physical Medicine and Rehabilitation, Phramongkutklao Hospital,

**Dept. of Medicine, Phramongkutklao Hospital,

***Faculty of Medicine, Mahasarakham University.

Objectives: To study the cost-effectiveness of hospital-based aerobic exercise program to reduce blood levels of HbA1C in type 2 diabetes mellitus patients

Study Design: Clinical trial

Setting: Physical Medicine and Rehabilitation Department, Phramongkutklao Hospital

Subject: 70 Patients underwent treatment at Phramongkutklao Hospital

Methods: Seventy participants personally selected one out of two groups: the exercise group (N=34) selected hospital-based bicycling exercise 30 minutes, at least three times per week for 8 weeks and the control group (N=36) who did not choose the exercise program. All participants completed the estimated cost questionnaire and received blood chemistry testing for HbA1C, cholesterol, HDL, LDL and TG prior and at the end of intervention. The cost-effectiveness was calculated from a capitals spent to reduce at least 0.1% of HbA1C in each person.

Results: HbA1C and HDL significantly reduced more in the exercise group than those in the control group (p = 0.002 and 0.016, respectively). The number of participant s with HbA1C changed at least 0.1 % in the exercise group was greater than the control group significantly (26: 9 cases, P<0.05). The cost in perspective of provider and 34 participants in the exercise group were 69,761 and 162,908 baht respectively. The provider’s perspective cost of 36 cases in the control group was 17,120 baht. The cost-effectiveness in provider perspective to result one case of diabetes patient with decreased HbA1C value at least 0.1 percent was 2,683.12 baht in exercise group and 1,902.22 baht in control group. The cost-effectiveness in patient perspective was 6,265.69 baht in exercise group.

Conclusion: The cost-effectiveness in both provider and patient perspective of diabetes persons choosing exercise are more than of those without exercise.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของการออกกำลังกายที่โรงพยาบาลต่อการลดระดับ HbA1C ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทดลองทางคลินิก (clinical trial)

สถานที่ทำวิจัย: กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

วิธีการศึกษา: ผู้ร่วมวิจัยจำนวน 70 ราย เลือกกลุ่มตามความสมัครใจ โดยแบ่งเป็นเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มออกกำลังกาย จำนวน 34 ราย เลือกโปรแกรมการปั่นจักรยานที่โรงพยาบาล 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม จำนวน 36 ราย ไม่เลือกโปรแกรมการออกกำลังกายที่โรงพยาบาล ทั้ง 2 กลุ่ม ตอบแบบประเมินต้นทุนและได้รับการตรวจวัดค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C), ไขมันในเลือด (cholesterol), เอชดีแอล( HDL-C),แอลดีเเอล( LDL-C) และไตรกลีเซอไรด์ (TG) ก่อนเริ่มและเมื่อสิ้นสุดการวิจัย โดยต้นทุนประสิทธิผลของการออกกำลังกาย คำนวณจากจำนวนเงินที่ทำให้ผู้ร่วมวิจัยหนึ่งรายมีค่า HbA1C ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.1

ผลการศึกษา: กลุ่มออกกำลังกายมีค่า HbA1C และค่า HDL เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p = 0.002 , P <0.001และ p = 0.016 ตามลำดับ) ในทัศนะของผู้ให้บริการและผู้ร่วมวิจัยในกลุ่มออกกำลังกาย 34 รายต้นทุนเท่ากับ 69,761 และ 162,908 บาทตามลำดับ ในทัศนะของผู้ให้บริการในกลุ่มควบคุม 36 ราย ต้นทุนเท่ากับ 17,120 บาท
จำนวนผู้ร่วมวิจัยในกลุ่มออกกำลังกาย ที่มีค่า HbA1C ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.1 มีมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( 26 ต่อ 9 ราย, p <0.05) ในทัศนะของผู้ให้บริการต้นทุนต่อหน่วยประสิทธิผลเป็น 2,683.12 บาทในกลุ่มออกกำลังกาย และ 1,902.22 บาทในกลุ่มควบคุม ในทัศนะของผู้ร่วมวิจัย ต้นทุนต่อหน่วยประสิทธิผลเป็น 6,265.69 บาทในกลุ่มออกกำลังกาย

สรุป: ผู้เป็นเบาหวานที่ออกกำลังกายมีต้นทุนประสิทธิผลทั้งในทัศนะของผู้ให้บริการและผู้ร่วมวิจัยสูงกว่าผู้เป็นเบาหวานที่ไม่ออกกำลังกาย

Downloads