การศึกษานำร่องประสิทธิผลของการฝึกด้วยกระจกเงาในผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง ที่มีภาวะอัมพาตของมือ

Authors

  • ภัทราภรณ์ ศิริรักษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยะภัทร เดชพระธรรม ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธนิษฐา ธนาเกียรติภิญโญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นตัวของระบบประสาท, การทำงานของมือ, การฝึกด้วยกระจกเงา, การฟื้นสภาพ, Stroke, cerebrovascular disease, motor recovery, hand function, mirror therapy

Abstract

The Effectiveness of Mirror Therapy in Chronic Stroke Patients with Plegic Hand: a Pilot Study

Sirirak P, Dajpratham P, Thanakiatpinyo T

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Objectives: To evaluate effects of mirror therapy on neurological recovery and hand function in chronic stroke patients with distal plegia of upper extremity

Study design: Double blind randomized-controlled trial (pilot study)

Setting: Outpatient rehabilitation clinic and occupational therapy section, Department of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital

Subjects: Patients with first episode of stroke and a history of stroke more than 3 months, having hemiparesis and classified as Brunnstrom stage of hand 1 to 2.

Methods: Eighteen patients (11 males, 7 females, mean age 59.2 y, mean duration of stroke 9.9 months) were randomly assigned to: a mirror group or a control group. All patients performed daily home exercise using conventional rehabilitation program and additional mirrortherapy or sham therapy for 4 weeks (30 minutes twice a day). Outcome measures including Fugl-Meyer (FM) subscores for upper extremity, Action Research Arm test (ARAT) for hand function, grip strength and modified Barthel index (MBI) were evaluated before and after treatment (0, 4 and 8 weeks).

Results: No significant differences were found between the groups for the FM motor and sensory subscores for upper extremity, ARAT, grip strength and MBI before and after treatment (repeated-measures ANOVA, P = 0.172, 0.630, 0.331, 0.144, 0.063). In the mirror therapy group, 55% of patient were satisfied with the method and 44% felt indifference.

Conclusion: No evidence to prove that the additional mirror therapy enhanced neurological recovery as well as functional recovery of upper extremity in chronic stroke patients with distal plegia of upper extremity.


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการฟื้นตัวของระบบประสาทและความสามารถในการใช้งานของมือข้างที่เป็นอัมพาตของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่ฝึกมือด้วยกระจกเงา

รูปแบบการวิจัย: การศึกษานำร่องแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม

สถานที่ทำการวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอกและหน่วยกิจกรรมบำบัดภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก มีประวัติเป็นโรค หลอดเลือดสมองมานานกว่า 3 เดือน มีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก และมีระบบประสาทสั่งการมือตามเกณฑ์ Brunnstrom อยู่ในระยะ 1-2

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยจำนวน 18 คน (ชาย 11 คน หญิง 7 คน อายุเฉลี่ย 59.2 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรค หลอดเลือดสมอง 9.9 เดือน) ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยได้รับการฝึกมือข้างที่เป็นอัมพาตด้วยวิธีมาตรฐานร่วมกับการฝึกมือด้วยกระจกเงาหรือวิธีหลอก โดยให้ฝึกเองที่บ้านทุกวัน ใช้เวลาฝึกครั้งละ 30 นาที 2 ครั้งต่อวัน
เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ และได้รับการประเมินผลการฟื้นตัวของระบบประสาทของมือและแขนตามเกณฑ์การทดสอบ Fugl-Meyer (FM) ส่วนความสามารถในการใช้งานของมือตามเกณฑ์ Action Research Arm test (ARAT) แรงบีบมือที่ก่อน และหลังการฝึก และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันตามเกณฑ์ modified Barthel index (MBI) ในสัปดาห์ที่ 0, 4 และ 8

ผลการศึกษา: คะแนน FM ของมือ (motor subscore, sensory subscore) คะแนน ARAT ค่าแรงบีบมือ และคะแนน MBI เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองทั้งก่อนและหลังการฝึก พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (repeated-measures ANOVA, P = 0.172, 0.630, 0.331, 0.144, 0.063 ตามลำดับ) ส่วนผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยในกลุ่มทดลองพบว่า ร้อยละ 55.5 ชอบวิธีฝึกด้วยกระจก และร้อยละ 44.4 รู้สึกเฉย ๆ

สรุป: การฝึกมือด้วยกระจกเงาครั้งละ 30 นาที 2 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกด้วยวิธีมาตรฐาน ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าช่วยเพิ่มการฟื้นตัวของระบบประสาทและความสามารถในการใช้งานของมือและแขนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่มีภาวะอัมพาตของมือ

Downloads

Issue

Section

Original Article