การศึกษาความถูกต้องของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลังในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Authors

  • จรัณพร โสตถิพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ภาวะซึมเศร้า, รอยโรคไขสันหลัง, การประเมิน, depression, spinal cord lesion, assessment

Abstract

Validation of KhonKaen University Depression Inventory (KKU-DI) in Patients with Spinal Cord Lesion in Srina garind Hospital

Sotthibundhu C1, Wattanapan P1, Arunpongpaisal S2

1Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

2Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Objective: To investigate the validity of KKU-DI questionnaire in patients with spinal cord lesion.

Study design: Diagnostic descriptive study

Setting: Rehabilitation ward, Srinagarind hospital

Subjects: Patientswith spinal cord lesion admitted at Rehabilitation Ward, Srinagarind Hospital between December 2010 to August 2011

Methods: All participants were asked to complete KKU- DI screening questionnaire. Then they were assessed by blinded psychiatrist using MINI questionnaire to define depressive disorder. Data were analyzed to find sensitivity, specificity, negative predictive value, positive predictive value, likelihood ratio and the appropriate cut- point score.

Results: Seventy one subjectswere included, 65% were male and mean age 48.7 7 years (SD 15.8). At cut-point score of 6, which used for general population, sensitivity and specificity were 100% and 59%, respectively. The positive predictive value and negative predictive value were 28.6 and 100 percent. Using ROC curve, cut-point score of 11 was suggested for patients with spinal cord lesion with sensitivity of 90% and a specificity of 80%. The positive predictive value and negative predictive value of the test were 43 and 98 percent.

Conclusion: The KKU-DI screening questionnaire has validity to detect depressive disorders in patients with spinal cord lesion.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาความถูกต้องของแบบคัดกรอง KKU-DI ในผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลัง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่มีรอยโรคไขสันหลังที่เข้ารับการรักษา ที่หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่าง ธันวาคม 2553 – สิงหาคม 2554

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทุกรายที่เข้าร่วมวิจัยทำแบบคัดกรอง KKU-DI และทุกรายได้รับการตรวจโดยจิตแพทย์ ซึ่งใช้แบบ สอบถาม MINI จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่า ความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายการเป็นลบ ค่าทำนายการ เป็นบวก likelihood ratio และจุดตัดที่เหมาะสม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 7 7 1 ราย ร้อยละ65 เป็นชาย อายุ เฉลี่ย 48.7 7 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.8) ปี เมื่อคิดภาวะ ซึมเศร้าที่ค่าคะแนน 6 คะแนนขึ้นไป ซึ่งเป็นจุดตัดที่เหมาะสม ในกลุ่มประชากรทั่วไปที่ไม่มีรอยโรคไขสันหลัง ให้ค่าความไว และจำเพาะร้อยละ 100 และ 59 ตามลำดับ ค่าทำนายการ เป็นบวกและค่าทำนายการเป็นลบ เป็นร้อยละ 28.6 และ 100 แต่เมื่อดู ROC curve พบว่าค่าจุดตัดควรเป็น 11 คะแนน ซึ่งให้ค่าความไว และความจำเพาะร้อยละ 90 และ 80 ตามลำดั โดยมีค่าการทำนายเป็นบวกและค่าการทำนายเป็นลบ คือ ร้อยละ 43 และร้อยละ 98 ตามลำดับ

สรุป: แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI มีความถูกต้อง เหมาะสมสำหรับคัดกรองภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีรอยโรค ไขสันหลัง

Downloads

Issue

Section

Original Article