การใช้แถบตรวจปัสสาวะสำหรับการคัดกรองภาวะติดเชื้อระบบ ทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการจาก รอยโรคไขสันหลัง

Authors

  • กันต์นิษฐ์ พงศ์พิพัฒไพบูลย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ปรีดา อารยาวิชานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, รอยโรคไขสันหลัง, กระเพาะปัสสาวะพิการ, แถบตรวจปัสสาวะ, urinary tract infection, spinal cord lesion, neurogenic bladder, urine dipstick

Abstract

The Use of Urine Dipstick for Screening of Urinary Tract Infection in Patients with Neurogenic Bladder Secondary to Spinal Cord Lesion

Pongpipatpaiboon K, Wattanapan P, Arayawichanon P.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khonkaen 40002, Thailand.

Objectives: To evaluate the efficacy of urine nitrite (N) and leukocyte esterase(LE) in the diagnosis of urinary tract infection (UTI) in patients with neurogenic bladder (NB) secondary to spinal cord lesion (SCL).

Study design: Cross-sectional study (diagnostic test)

Setting: Rehabilitation inpatient unit, Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Subjects: Eighty patients with neurogenic bladder secondary to spinal cord lesion

Methods: Clean-catheter midstream samples were collected. The urine specimen was tested for N and LE within 1 1 1 hour of collection using reagent strip. Then it was sent to the hospital laboratory, where semi-automated microscopic urinalysis and urine culture were performed. Sensitivity, specificity, predictive values, and accuracy of dipsticks (N, LE, or both) were calculated using laboratory evidence of UTI (urinalysis and urine culture) as the “gold standard”. Results: Out of 80 urine samples, 24(30%) revealed UTI. About 93% were infected by gram-negative microorganism. Urine dipstick for N had sensitivity of 100%, specificity of 39.3%, positive predictive value (PPV) of 41.4 %, negative predictive value (NPV) of 100%, and accuracy of 57.5%. For LE, sensitivity, specificity, PPV, NPV and accuracy were 1 1 00.0%,50.0%, 46.2%, 1 1 00.0% and 65.0%, respectively. Using the different cut-off limits for positive LE test, from 1 1 + to 4+, sensitivity and NPV were decreased whereas specificity and PPV were increased. A combination of urine nitrite and LE at various cut-off limits of positive test results, with both tests positive, improved the diagnostic accuracy of nitrite test alone and LE test alone. However, the nitrite and LE test combination, with both or either one positive, did not improve the diagnostic accuracy of nitrite test alone and LE test alone.

Conclusion: Dipsticks that measure both urine nitrite and leukocyte esterase have high sensitivity and NPV, which may be used for urinary tract infection screening in patients with neurogenic bladder secondary to spinal cord lesion.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการตรวจไนไทรต์ (nitrite, N) และลิวโคไซต์เอสเตอเรส (leukocyte esterase, LE) ในปัสสาวะเพื่อวินิจฉัยภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะใน ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการจากรอยโรคไขสันหลัง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาการวินิจฉัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการจากรอย โรคไขสันหลัง จำนวน 80 ราย

วิธีการศึกษา: เก็บปัสสาวะโดยการสวนปัสสาวะแบบสะอาด แบ่ง 2 ส่วน ส่วนแรก ตรวจ N และ LE โดยใช้แถบทดสอบ ภายใน 1 1 1 ชั่วโมง ส่วนที่ 2 ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจจำนวน เม็ดเลือดขาวและเพาะเชื้อแบคทีเรีย นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความไว ความจำเพาะ คุณค่าการทำนายผล และความแม่นยำ ของวิธีตรวจทั้ง N และ LE โดยใช้ผลเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ร่วมกับผลเพาะเชื้อเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ผลการศึกษา: พบความชุกของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 30 โดยร้อยละ 93 เป็นแบคทีเรียชนิดกรัมลบ การตรวจ N มีความไว ความจำเพาะ คุณค่าการทำนายผลบวกและลบ และความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 1 1 00.0, 39.3, 41.4, 1 1 00.0 และ 57.5 ตามลำดับ ส่วน การตรวจ LE มีความไว ความจำเพาะ คุณค่าการทำนาย ผลบวกและลบ และความแม่นยำ ร้อยละ 1 1 00.0, 50.0, 46.2, 100.0 และ 65.0 ตามลำดับ และเมื่อใช้จุดตัดของ LE ที่ค่า ต่าง ๆ จากค่า 1 1 + ถึง 4+ พบว่า มีความไวและคุณค่าการ ทำนายผลลบลดลง แต่มีความจำเพาะและคุณค่าการทำนาย ผลบวกสูงขึ้น สำหรับการวินิจฉัยโดยใช้ 2 วิธีร่วมกัน พบว่า เมื่อผลตรวจทั้ง 2 วิธีเป็นบวก มีความแม่นยำในการวินิจฉัยสูง ขึ้น ในขณะที่การใช้เกณฑ์วินิจฉัยการติดเชื้อ เมื่อผลตรวจ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบวกนั้น ไม่ได้เพิ่มความแม่นยำในการ วินิจฉัยเมื่อเทียบกับการใช้ N หรือ LE เพียงอย่างเดียว

สรุป: การใช้แถบตรวจไนไทรต์ และลิวโคไซต์เอสเตอเรส ใน ปัสสาวะ มีความไวและคุณค่าการทำนายผลลบสูง อาจนำมา ใช้ตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยภาวะ กระเพาะปัสสาวะพิการจากรอยโรคไขสันหลัง

Downloads