การศึกษานำร่องเพื่อเปรียบเทียบการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ระหว่างการให้ยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำ กับการรับประทานยา ciprofloxacin

Authors

  • บัวกาญจน์ กายาผาด ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัทธ์ปิยา สีระสาพร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, กระเพาะปัสสาวะพิการ, การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ, บาดเจ็บไขสันหลัง, urinary tract infection, neurogenic bladder, antibiotic prophylaxis, spinal cord injury

Abstract

The Comparison of the Urinary Tract Infection Prophylaxis after Urodynamic Study between Intravenous Ampicillin and Gentamicin versus Oral Ciprofloxacin: a Pilot Study

Kayaphard B, Sirasaporn P, Wattanapan P.

Department of Physical medicine and rehabilitation, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khonkaen 40002, Thailand.

Objectives: To compare the urinary tract infection rates after urodynamic study between intravenous ampicillin and gentamicin versus oral ciprofloxacin

Study design: Randomized controlled study

Setting: Rehabilitation inpatient unit, Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Subjects: Sixty spinal cord injured patients with neurogenic bladder were admitted at rehabilitation unit for genitourinary system investigation.

Methods: The patients were divided in two groups: 30 patients per group receiving antibiotic prophylaxis for preventing urinary tract infection (UTI). The first group I received 1 gram of intravenous ampicillin with 80 milligrams of intravenous gentamicin while the second group received 500 milligrams of oral ciprofloxacin. Urine specimen from a sterile catheterization was collected from all patients 24 hours after urodynamic study and sent to a laboratory unit where semi-automated microscopic urinalysis and urine culture were performed. Incidence of UTI was calculated by using laboratory evidence of UTI (leukocyte >10 cells/HPF on urinalysis and >105 cfu/ml of 1 or 2 uropathogenic bacteria on urine culture) as the diagnostic criteria.

Results: The UTI rates after urodynamic study were 6.7 % in intravenous ampicillin with gentamicin group and 10 % in oral ciprofloxacin group. The UTI rates in both groups were not different (P>0.05). In addition, 100 % of UTI were infected by gram negative bacteria, mostly E.Coli (ESBL).

Conclusion: Urinary tract infection rates after urodynamic study between intravenous ampicillin with gentamicin versus oral ciprofloxacin were not different.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ ระหว่างการให้ยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำ กับการรับประทานยา ciprofloxacin

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ (randomized controlled study)

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการจากการ บาดเจ็บที่ไขสันหลังที่มารับการตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ ณ หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 60 คน

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยภาวะกระเพาะปัสสาวะพิการเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คนซึ่งแต่ละกลุ่ม ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับยา ampicillin 1 กรัม ร่วมกับ gentamicin 80 มิลลิกรัม กลุ่มที่ 2 ได้รับยา ciprofloxacin 500 มิลลิกรัม หลังตรวจยูโรพลศาสตร์ 24 ชั่วโมง เก็บตัวอย่าง ปัสสาวะจากผู้ป่วยโดยการสวนปัสสาวะแบบปลอดเชื้อ และ นำปัสสาวะส่งห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะและเพาะเชื้อแบคทีเรีย แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์การติดเชื้อทาง เดินปัสสาวะ โดยใช้ผลตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาว >10 cells/HPF ร่วมกับผลการเพาะเชื้อพบแบคทีเรีย 1 หรือ 2 ชนิด > 105 cfu/ml เป็นการวินิจฉัยการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ผลการศึกษา: หลังตรวจยูโรพลศาสตร์พบการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะในกลุ่มที่ได้รับยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอดเลือดดำ ร้อยละ 6.7 และในกลุ่มที่ได้รับยารับประทาน ciprofloxacin ร้อยละ 10 ทั้งนี้อัตราการติดเชื้อของทั้งสองกลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) โดยร้อยละ 100 ของเชื้อก่อโรคเป็นแบคทีเรียชนิดกรัมลบ และที่พบมาก ที่สุด คือ E.Coli (ESBL)

สรุป: การให้ยา ampicillin ร่วมกับ gentamicin ทางหลอด เลือดดำกับการรับประทานยา ciprofloxacin มีอัตราการติดเชื้อ ทางเดินปัสสาวะหลังตรวจยูโรพลศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน

Downloads