ความสัมพันธ์ระหว่างการแยกการรับรู้ระหว่างสองจุดกับการ ตรวจการนำกระแสประสาทในกลุ่มผู้ป่วยเส้นประสาทอัลนาร์ ถูกกดทับบริเวณข้อศอก

Authors

  • ไตรลักษณ์ วรวรรณธนะชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่
  • นิตินาถ วงษ์ตระหง่าน ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู, คณะแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่

Keywords:

การแยกการรับรู้ระหว่างสองจุด, การตรวจการนำกระแสประสาท, เส้นประสาทอัลนาร์, ภาวะเส้นประสาท อัลนาร์ถูกกดทับบริเวณข้อศอก, Static two-point discrimination test, nerve conduction study, ulnar nerve, ulnar neuropathy at the elbow (UNE)

Abstract

Correlation between Static Two-Point Discrimination Test and Nerve Conduction Study of Ulnar Nerve in Patients with Ulnar Neuropathy at the Elbow

Triluk Vorawanthanachai, Nitinat Wongtra-gnan, Apichana Kovindha

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand

Objective: To study the correlation between static two- point discrimination (STPD) and ulnar nerve conduction study (NCS) in the patients with suspected ulnar neuropathy at the elbow (UNE) and to study sensitivity and specificity of STPD for the diagnosis of UNE.

Study design: Cross-sectional comparative study.

Setting: Electrodiagnosis laboratory, Department of Rehabilitation Medicine, Maharaj Hospital.

Subjects: Fifteen patients with suspected UNE and fifty-one normal persons.

Methods: Using Dellon disk-criminator, STPD was measured at the finger tip of the 4th, the 5th digits and medial aspect o of the hand. Then, the standard NCS of the ulnar nerve was done. Correlation between STPD and electrodiagnostic parameters (distal latency, amplitude of sensory nerve action potential (SNAP) and compound muscle action potential (CMAP), and nerve conduction velocity (NCV) across elbow) were calculated with Pearson’s correlation (p-value ≤ 0.05). The sensitivity and specificity of STPD for diagnosis of UNE were calculated.

Results: There are statistical significant correlations between STPD at the 5th digit and NCS parameters as follows: inverse proportion to SNAP amplitude (r = -0.548), CMAP amplitude of ADM (r =-0.672) and of FDI(r =-0.540) and NCV across elbow (r=-0.574). When using a cut-point more than 3 mm (mean +SD= 3.6 mm) for suspected UNE, the sensitivity is 66.67% and specificity is 60.0 %.

Conclusion: Testing two-point discrimination at the 5th digit and using STPD 3 mm for suspected ulnar neuropathy at the elbow has moderate sensitivity and specificity, and correlates moderately with all ulnar nerve conduction study parameters except distal latency.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจ ประสาทรับความรู้สึกด้วยการแยกการรับรู้ระหว่างสองจุด (static two-point discrimination, STPD) กับผลการตรวจเส้น ประสาทอัลนาร์ด้วยการตรวจการนำกระแสประสาทในกลุ่ม ผู้ป่วยเส้นประสาทอัลนาร์ถูกกดทับบริเวณข้อศอก (ulnar neuropathy at the elbow, UNE) และเพื่อศึกษาความไวและ ความจำเพาะของการตรวจการรับความรู้สึกด้วย STPD ใน กลุ่มผู้ป่วยเส้นประสาทอัลนาร์ถูกกดทับบริเวณข้อศอก

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง

สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดง UNE 15 คน และคนปกติ 51 คน

วิธีการศึกษา: ตรวจการรับความรู้สึกแบบ STPD บริเวณ นิ้วก้อย, นิ้วนาง, ฝ่ามือ และหลังมือทางด้านนิ้วก้อยด้วย Dellon disk-criminator และตรวจการนำกระแสประสาทของ เส้นประสาทอัลนาร์. คำนวณหาค่าความสัมพันธ์ระหว่าง STPD กับตัวแปรต่าง ๆ จากผลการตรวจการนำกระแสประสาทได้แก่ ค่าการนำกระแสประสาทส่วนปลาย (distal latency), แอมพลิจูดของศักยะงานเส้นประสาทรับความรู้สึก (SNAP amplitude), แอมพลิจูดของศักยะงานกล้ามเนื้อ (CMAP amplitude) ทั้ง abductor digiti minimi (ADM) และ first dorsal interosseous (FDI) และอัตราความเร็วการนำกระแส ประสาท (Nerve conduction velocity, NCV) ด้วย Pearson’s correlation โดยถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ p ≤ 0.05 รวมทั้งคำนวณความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ของการตรวจการรับความรู้สึกด้วย STPD

ผลการศึกษา: ค่า STPD ที่นิ้วก้อยมีความสัมพันธ์แบบแปร ผกผันกับแอมพลิจูดของ SNAP (r= -0.548), แอมพลิจูดของ CMAP เมื่อรับที่ ADM (r= -0.672) และ FDI (r= -0.540) รวม ทั้งกับ NCV ที่ข้อศอกเมื่อรับที่ ADM (r= -0.574) อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อใช้ค่า STPD ที่นิ้วก้อยมากกว่าหรือ เท่ากับ 4 มม. (ค่าเฉลี่ย + ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, mean + SD= 3.6 มม.) เป็นค่าผิดปกติในการวินิจฉัย UNE พบว่ามี ความไวร้อยละ 60.0 และ ความจำเพาะร้อยละ 66.67.

สรุป: เมื่อใช้ค่า STPD ที่ปลายนิ้วก้อยมากกว่า 3 มม. ในการ วินิจฉัย UNE พบว่ามีความไวและความจำเพาะระดับปานกลาง และค่าดังกล่าวมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในระดับปานกลางกับแอมพลิจูดของ CMAP และ NCV ในช่วงข้อศอกเมื่อรับที่ ADM, แอมพลิจูดของ SNAP และแอมพลิจูดของ CMAP เมื่อรับที่ FDI

Downloads