ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการฝังเข็มเพื่อรักษาอาการ ปวดหลังส่วนล่าง

Authors

  • ชนศักดิ์ หทัยอารีย์รักษ์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ภูริชา ชัยวิรัช แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลน่าน
  • นราทร โสภณประภาภรณ์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • วิภู กำเหนิดดี กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

ฝังเข็มแบบจีน, ปวดหลังส่วนล่าง, ปัจจัยสำเร็จ, Acupuncture, success factors, low back pain

Abstract

Success Factors of Acupuncture in Treatment of Low Back Pain

Hathaiareerug C*, Chaivirach P**, Soponprapakorn N*, Kumnerddee W*

*Department of Rehabilitation Medicine, Phramongkutklao Hospital, Bangkok

** Department of Rehabilitation Medicine, Nan Hospital, Nan

Objective: To identify factors related to success of acupuncture in treatment of low back pain (LBP)

Study Design: Cross-sectional study

Setting: Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Phramongkutklao Hospital

Subjects: Patients who had LBP and visited at Rehabilitation out-patient clinic, Phramongkutklao Hospital during June 2010 to May 2011.

Methods: All potential factors related with LBP were collected from history taking, physical examination and X – ray imaging. All subjects were treated with acupuncture twice a week for 15 visits. Outcome was assessed using visual analogue scale (VAS) before treatment, at the 5th, 10th and 15th visits. Treatment success was defined as at least 50% reduction in VAS score between pre- and post-treatments at the end of last visit. Results: One hundred and forty-four patients were recruited, 73.6% were female, mean ages of 56.1 years (SD 13.1). The median duration of having LBP was 24 months (0-396, IQR 56). Mean baseline VAS was 58.5 mm (SD 22.2). Mean VAS score reduced 25.8 (SD 26.8) mm at the end of the session. Those with successful treatment of acupuncture had duration of LBP less than 6 months (p=0.041), and had more severe pain at baseline i.e., VAS more than 80 mm. (p=0.003).

Conclusion: This study suggested that patients with low back pain less than 6 months or baseline VAS more than 80 mm. tend to improve with acupuncture.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสำเร็จของการ ฝังเข็มเพื่อรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า

สถานที่ทำการวิจัย: แผนกผู้ป่วยนอก กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

กลุ่มประชากร: ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ที่ขอรับการ บำบัดรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2553 ถึง พฤษภาคม 2554

วิธีการศึกษา: บันทึกปัจจัยต่าง ๆ จากประวัติ, การตรวจ ร่างกาย และภาพถ่ายรังสี และให้การบำบัดด้วยการฝังเข็ม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 15 ครั้ง ประเมินอาการปวดหลังส่วนล่างด้วย visual analog scale (VAS) ก่อนและหลังการฝังเข็มครั้งที่ 5, 10 และ 15 ทั้งนี้ หาก VAS ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ถือว่า การฝังเข็มบรรลุผลสำเร็จ

ผลการศึกษา: มีผู้ร่วมวิจัยทั้งสิ้น 144 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.6 อายุเฉลี่ย 56.1 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.1) มัธยฐานของระยะเวลาที่มีอาการปวดหลังเท่ากับ 24 เดือน (ช่วงพิสัยควอไทล์ 0 ถึง 396) ก่อนการรักษา VAS เฉลี่ยเท่ากับ 58.5 มิลลิเมตร (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 22.2) หลังสิ้นสุดการ รักษาพบว่า VAS ลดลงเฉลี่ย 25.8 มิลลิเมตร (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 26.8) โดยพบว่าปัจจัยที่บ่งชี้ว่าการฝังเข็มประสบผล สำเร็จคือ ระยะเวลาที่มีอาการน้อยกว่า 6 เดือน (p=0.041)และความรุนแรงของอาการปวด ทั้งนี้ ผู้มีคะแนน VAS ก่อน การรักษาอย่างน้อย 80 มิลลิเมตรมีโอกาสฝังเข็มสำเร็จมากกว่า (p=0.003)

สรุป: จากการวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้ที่ปวดหลังส่วนล่างน้อยกว่า 6 เดือนและมีอาการปวดระดับรุนแรง (VAS อย่างน้อย 80 มม.) มีโอสารที่การฝังเข็มแบบจีนจะบรรลุผลสำเร็จ

Downloads

Issue

Section

Original Article