การศึกษานำร่องผลการรักษาและความพึงพอใจของผู้ป่วย โรคนิ้วล็อกต่อการใช้อุปกรณ์พยุงข้อโคนนิ้วมือ: การวิจัยแบบ สุ่มมีกลุ่มควบคุม

Authors

  • สุรเมศวร์ ศิริจารุวงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกริช กล้าผจญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณิตศ์ สนั่นพานิช ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อก, อุปกรณ์พยุงข้อโคนนิ้วมือ, ผลการรักษา, ความพึงพอใจ, Trigger finger patient, metacarpophalangeal splint, treatment outcomes and satisfaction

Abstract

A Pilot Study of Clinical Outcomes and Satisfaction on Metacarpophalangeal Splint in Patients with Trigger Fingers: A Randomized Control Trial

Suramet Sirijaruwong, M.D.*, Jakkrit Klaphajone, M.D.*, Kanit Sananpanich, M.D.**, Siam Tongprasert; M.D.*

* Department of Rehabilitation Medicine,

** Department of Orthopedics. Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To determine the effect of treatment and satisfaction of trigger finger patients using the metacarpophalangeal splint

Study design: Randomized clinical control trial

Setting: The outpatient unit of rehabilitation and orthopedic departments, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Subjects: 32 patients diagnosed with trigger fingers

Methods: General demographic data, assessment of severity and the average pain level were collected by history taking and physical examination. The patients were divided into a treatment group (wearing metacarpophalangeal splint) and a controlled group (wearing ring device) with a randomized program. Both groups wore locally fabricated devices for 6 weeks, together with being prescribed NSAIDs (Ibuprofen 1200 mg/day) for 1 week. After 6 weeks, the changes in number of locking or triggering (snapping) events during actively full hand clenching and opening for 10 consecutive times and pain scores (Visual Analogue Scale, VAS) before and after wearing devices were assessed. Satisfaction for devices was also evaluated.

Results: It was found that, on the 6th week, metacarpophalangeal splint group showed statistically significant decreased in a number of triggering and VAS (P = 0.046 and 0.001 respectively). But a comparison between two groups (wearing metacarpophalangeal splint and ring device) revealed no statistically significant differences (P> 0.05) in reduction of number of locking (median = 0.0 for the 2 groups; P = 0.087), reduction of number of triggering (median = 1.0 and 3.0 respectively; P = 0.221) and reduction of VAS (mean = 2.1 and 1.7 respectively; P = 0.471). Satisfaction scores after wearing devices showed no statistically significant differences (median = 7.5 and 7.0 respectively; P = 0.716).

Conclusion: Wearing metacarpophalangeal splint for 6 weeks showed statistically significant decrease in number of triggering and VAS but no statistically significant different clinical outcomes and satisfaction when compared with wearing ring device. However, a further study with adequate number of patients should be performed.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลการรักษาและความพึงพอใจ ของผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกต่อการใช้อุปกรณ์พยุงข้อโคนนิ้วมือ

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกแบบสุ่มและ มีกลุ่มควบคุม

สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ภาควิชาเวชศาสตร์ ฟื้นฟูและออร์โทปิดิกส์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกจำนวน 32 คน

วิธีการศึกษา: ซักประวัติข้อมูลพื้นฐานทั่วไปและตรวจร่างกาย เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของโรค คะแนนความเจ็บปวด เฉลี่ย จากนั้นแบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยออกเป็นกลุ่มทดลอง (ใส่อุปกรณ์ พยุงข้อโคนนิ้วมือ) และกลุ่มควบคุม (ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วมือรูป วงแหวน) ด้วยโปรแกรมการสุ่มสำเร็จรูป ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจะสวม ใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วมือชนิดผลิตขึ้นเองเป็นเวลา 6 สัปดาห์พร้อม กับได้รับยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (ไอบูโพรเฟน 1200 มก./วัน) เป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากนั้นเมื่อครบ 6 สัปดาห์ จึงประเมินผลการรักษาโดยวัดการเปลี่ยนแปลงจำนวนครั้งการ เกิดนิ้วล็อกหรือสะดุดเมื่อทำการกำและแบมือให้สุด 10 ครั้ง ติดต่อกันและวัดการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเจ็บปวด ก่อน และหลังการใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วมือ รวมทั้งประเมินความพึงพอใจ ภายหลังการใส่อุปกรณ์พยุงนิ้วมือ

ผลการศึกษา: ณ สัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มที่ใส่อุปกรณ์พยุง ข้อโคนนิ้วมือมีจำนวนครั้งการเกิดนิ้วสะดุดและคะแนนความ เจ็บปวด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.046 และ 0.001 ตามลำดับ) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใส่อุปกรณ์ พยุงนิ้วมือรูปวงแหวน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ของจำนวนครั้งการเกิดนิ้วล็อก ที่ลดลง (ค่ามัธยฐาน = 0.0 ทั้ง 2 กลุ่ม; P = 0.087) จำนวน ครั้งการเกิดนิ้วสะดุดที่ลดลง (ค่ามัธยฐาน = 1.0 และ 3.0 ตาม ลำดับ; P = 0.221) คะแนนความเจ็บปวดที่ลดลง (ค่าเฉลี่ย = 2.1 และ 1.7 ตามลำดับ; P = 0.471) และคะแนนความพึงพอใจ (ค่า มัธยฐาน = 7.5 และ 7.0 ตามลำดับ; P = 0.716)

สรุป: การใส่อุปกรณ์พยุงข้อโคนนิ้วมือนาน 6 สัปดาห์ สามารถ ลดจำนวนครั้งการเกิดนิ้วสะดุดและลดระดับความเจ็บปวดได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการใส่อุปกรณ์ พยุงนิ้วมือรูปวงแหวน แสดงผลการรักษาทางคลินิกและความ พึงพอใจ ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไร ก็ตามควรที่จะมีการศึกษาเพิ่มเติมกับจำนวนกลุ่มผู้ป่วยโรค นิ้วล็อกที่เพียงพอต่อไป

Downloads