ภาวะปวดเหตุประสาทในคนพิการจากสถานการณ์ความไม่สงบ จังหวัดปัตตานี

Authors

  • พัชระ บรรจงละเอียด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลปัตตานี

Keywords:

อาการปวด, ภาวะปวดเหตุประสาท, คนพิการ, pain, neuropatic pain, persons with physical disabilities

Abstract

Neuropathic Pain in Persons with Physical Disabilities from the Unrest Situation in Pattani Province

Banjongla-eard P.

Department of Rehabilitation Medicine, Pattani Hospital

Objective: To determine prevalence of neuropathic pain in persons with physical disability, treatment and its results.

Study design: Cross-sectional study.

Setting: Pattani province.

Subjects: Thirty-two persons with physical disability from the unrest situation in Pattani province.

Methods: Demographic data, their data about pain within 1 month, the DN4 questionnaire in Thai, treatment, and its results were collected by interviewing and physical examination. Results: More than half (56.3%) of the subjects had neuropathic pain. Most of those having neuropathic pain were paraplegia and tetraplegia. Severity of pain was higher in those with neuropathic pain and those with other types of pain. The majority (66.6%) of those with neuropathic pain was treated with medications and 53.3% received paracetamol to control pain. Those with neuropathic pain had significantly less response to treatment than those with other types of pain (P=0.025).

Conclusion: Neuropathic pain was prevalent among persons with physical disabilities from the unrest situation in Pattani province and most of them were treated improperly.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: หาความชุกของภาวะปวดเหตุประสาทที่เกิดกับ คนพิการทางกาย การรักษาและยาที่ได้รับรวมถึงผลการรักษา

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

สถานที่ทำการวิจัย: จังหวัดปัตตานี

กลุ่มประชากร: คนพิการที่เกิดจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 32 คน

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการตรวจ ร่างกาย ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาการปวดที่ เกิดขึ้นภายใน 1 เดือน และใช้แบบสอบถาม DN4 ฉบับภาษา ไทยเพื่อหาความชุกของภาวะปวดเหตุประสาท การรักษา และ ผลการรักษา ผลการศึกษา: ความชุกของภาวะปวดเหตุประสาท พบร้อยละ 56.3 โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอัมพาตครึ่งล่างและอัมพาตแขน ขาสองข้าง กลุ่มที่มีภาวะปวดเหตุประสาทมีความปวดรุนแรง กว่าผู้ที่มีภาวะปวดด้วยเหตุอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P= 0.047) ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.6) ได้รับการรักษาด้วยยา โดย ร้อยละ 53.3 ได้รับยาพาราเซทามอลบรรเทาปวด ซึ่งการรักษา ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดหรือลดอาการปวดได้เพียงเล็กน้อย ผลการรักษาในกลุ่มภาวะปวดเหตุประสาทแตกต่างจากกลุ่ม ปวดด้วยสาเหตุอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.025)

สรุป: คนพิการจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดปัตตานีมี ความชุกของภาวะปวดเหตุประสาทค่อนข้างสูง และส่วนใหญ่ ได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ

Downloads

Issue

Section

Original Article