ผลการใช้ผ้าเทปเพื่อการบำบัดในการลดอาการปวดไหล่ข้างที่ อ่อนแรงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Authors

  • พัชรพร วงษ์สิทธิชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • ฉกาจ ผ่องอักษร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Keywords:

การปวดไหล่, พิสัยข้อไหล่, โรคหลอดเลือดสมอง, ผ้าเทปเพื่อการบำบัด, shoulder pain, shoulder range of motion, stroke, therapeutic elastic tape

Abstract

Effects of Therapeutic Elastic Taping in Reducing Pain in Hemiplegic Shoulder: a Preliminary Study

Wongsithichai P and Pongurgsorn C

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Objectives: To study outcomes of using a therapeutic elastic tape for reducing shoulder pain in hemiplegic patients.

Study design: Preliminary, assessor-blinded randomized controlled trial

Setting: Inpatient ward, Siriraj Hospital

Subjects: Total of 50 hemiplegic stroke inpatient s with shoulder pain from May to December 2013.

Methods: Post-stroke shoulder pain patients were assessed for severity of pain and range of motion (ROM) of shoulder actively and passively. The visual analog scale (VAS) was used to evaluate their shoulder pain at night, at rest and on motion. The patients were randomized into 2 groups for application of therapeutic elastic tape or sham tape. Both groups received same education, physical therapy and occupational therapy program during taping. After 1 week, the pain and range of motion of shoulder were re-assessed. Results: Pain score (VAS) after therapeutic taping was significantly decreased comparing to sham group. Active ROMs (all directions) were not different between therapeutic tape and sham tape group. Therapeutic tape group could significantly improve all directions of passive ROM when compare to sham tape group.

Conclusion: Therapeutic tape was more effective than the sham tape in hemiplegic shoulder pain when adding to conventional PT and OT program. Therapeutic tape may be an adjunctive or alternative treatment option in the treatment of shoulder pain in hemiplegic patient, especially immediate effect of taping.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการใช้ผ้าเทปเพื่อการบำบัด ในการลดอาการปวดไหล่ข้างที่อ่อนแรงในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเบื้องต้นแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม และปกปิดผู้ประเมิน

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศิริราช

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาปวด ไหล่ข้างที่อ่อนแรง จำนวน 50 ราย ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม 2556

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยได้รับการประเมินระดับความปวดเวลา กลางคืน เวลาพัก และเวลาเคลื่อนไหว และพิสัยการเคลื่อน ของข้อไหล่ข้างที่อ่อนแรง หลังจากนั้น แบ่งกลุ่มผู้ป่วยโดยการ สุ่มเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มติดผ้าเทปเพื่อการบำบัด และ กลุ่มติด เทปเทียบเท่า โดยทั้งสองกลุ่มได้รับคำแนะนำการดูแลแขนและ มือสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัดตามมาตรฐาน หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ ประเมินระดับความปวด และพิสัยการเคลื่อนข้อไหล่ข้างที่ อ่อนแรงอีกครั้ง ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดก่อนติดเทป และหลังจากติดเทป 1 สัปดาห์ กลุ่มติดผ้าเทปเพื่อการบำบัด มีความปวดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและทางคลินิก เมื่อเทียบกับกลุ่มติดเทปเทียบเท่า และเมื่อผู้ป่วยขยับเอง พิสัย ข้อไหล่ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ แต่เมื่อผู้ตรวจเป็นผู้ขยับข้อของผู้ป่วย กลุ่มติดผ้าเทปเพื่อ การบำบัดพบว่าพิสัยข้อไหล่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทุกทิศทางเมื่อเทียบกับกลุ่มติดเทปเทียบเท่า

สรุป: การติดผ้าเทปเพื่อการบำบัดลดอาการปวดไหล่ข้างที่ อ่อนแรงได้มากกว่าเทปเทียบเท่า เมื่อใช้ร่วมกับการทำกายภาพ บำบัดและกิจกรรมบำบัดตามมาตรฐาน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้ผลเร็วในการบำบัดอาการปวดไหล่ข้างที่อ่อนแรงใน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Downloads