กลยุทธ์การรับมือกับปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้พิการ ไทยบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง
Keywords:
บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง, การปรับตัวทางจิตใจ, พฤติกรรมการรับมือกับปัญหา, สุขภาพจิต, chronic spinal cord injuries, psychological adaptation, coping behavior, mental healthAbstract
Coping Strategies of Thais with Chronic Spinal Cord Injury and Related Factors
Pattanakuhar S, Kammuang-lue P, Kovindha A
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Objectives: To study coping strategies and related factors in Thais with chronic spinal cord injury
Design: A cross-sectional study
Setting: Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and the 700th Anniversary Chiang Mai Sports Complex
Subject: Thais with chronic spinal cord injury
Methods: Subjects were interviewed and completed the Spinal Cord Lesion related Coping Strategies Questionnaire (SCL-CSQ), the International Spinal Cord Injury Core Set andthe Quality of Life Basic Data Set (ISCI-QoL) and the Hospital Anxiety Depression Scale (HADS); data were analyzed to assess relations between coping strategies and personal factors and medical conditions.
Results: One hundred subjects, mean age of 39.27 years old (SD 11.40), mean duration of injury of 10.01 year (SD 7.63), were recruited. Regarding coping strategies used, ‘fighting spirit’ had the highest mean score of 2.23, followed by ‘acceptance’ (2.14) and ‘social reliance’ (2.09). Mean HADS-anxiety score was 4.37 and mean HADS-depression score was 2.81. Mean life satisfaction QoL score was 7.65; the satisfaction of physical QoL-physical healthy had a slightly but significantly negative relation with ‘social reliance’ (r=-0.227, p=0.028). ‘Acceptance’ had a positive relation with being SCI athlete (p=0.000) and negative relation with having pressure ulcer at present (p=0.042) while ‘social reliance’ had a positive relation with male gender (p=0.001). However the ‘fighting spirit’ was not related to any medical factors and medical conditions.
Conclusion: The most common coping strategy that Thais with chronic spinal cord injury used was ‘fighting spirit’. Being SCI athlete had a positive relation with ‘acceptance’ coping strategy. Males significantly used ‘social reliance’ more than females.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังใช้ กลยุทธ์ใดในการรับมือกับปัญหาและมีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับ กลยุทธ์ดังกล่าว
รูปแบบการวิจัย: การสำรวจ/การศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลา หนึ่ง
สถานที่การทำวิจัย: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่และ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
กลุ่มประชากร: ผู้พิการไทยบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง
วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์และประเมินกลยุทธ์การรับมือกับ ปัญหาโดยใช้ Spinal Cord Lesion-Related Coping Strategies Questionnaire (SCL-CSQ), เก็บข้อมูลทั่วไปและ ประเมินคุณภาพชีวิตโดยใช้ชุดข้อมูลสากลหลักและชุดข้อมูล สากลคุณภาพชีวิตพื้นฐานกรณีบาดเจ็บไขสันหลัง (International Spinal Cord Injury Core Set and Quality of Life Basic Data Set), ประเมินอารมณ์วิตกกังวลและซึมเศร้าโดยใช้ Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) และ วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การรับมือกับปัญหา กับปัจจัยส่วนบุคคลและภาวะทางการแพทย์ ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา100 คน มีอายุเฉลี่ย 39.27 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.40), เป็นมานานเฉลี่ย 10.01 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.63), กลยุทธ์การรับมือกับปัญหา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ การมีใจสู้ปัญหา (fighting spirit) เท่ากับ 2.23, รองลงมาคือ การยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น (acceptance) เท่ากับ 2.14 และต่ำที่สุดคือ การเชื่อมั่นในความช่วยเหลือของสังคม (social reliance) เท่ากับ 2.09, ค่าเฉลี่ย คะแนนอารมณ์วิตกกังวลเท่ากับ 4.37 และอารมณ์ซึมเศร้า เท่ากับ 2.81, ค่าเฉลี่ยคะแนนความพอใจต่อชีวิตโดยรวมเท่ากับ 7.65; พบว่าการเชื่อมั่นในความช่วยเหลือของสังคมสัมพันธ์เชิง ลบกับคะแนนความพอใจต่อชีวิตด้านร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.028), การยอมรับสภาพที่เกิดขึ้นสัมพันธ์เชิงบวกกับการ เป็นนักกีฬาและสัมพันธ์เชิงลบกับการมีแผลกดทับในอย่างมี นัยสำคัญ (p=0.000 และ p=0.042) และการเชื่อมั่นในความ ช่วยเหลือของสังคมสัมพันธ์เชิงบวกกับเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.001) ทั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการมีใจสู้ปัญหา กับปัจจัยส่วนบุคคลและภาวะทางการแพทย์ใด ๆ
สรุป: ผู้พิการไทยบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังใช้กลยุทธ์แบบการ มีใจสู้ปัญหามากที่สุด การเป็นนักกีฬาเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับ กลยุทธ์ในการรับมือกับปัญหาแบบการยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น และผู้ชายใช้กลยุทธ์การรับมือกับปัญหาแบบการเชื่อมั่นในความ ช่วยเหลือของสังคมมากกว่าผู้หญิง