การศึกษาส่วนประกอบรถนั่งคนพิการที่ชำรุดบ่อย

Authors

  • พิมพ์ชนก สุขสมพร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

รถนั่งคนพิการ, คนพิการ, wheelchair, person with disability

Abstract

Common Broken Components of Wheelchairs Used by Persons with Disability

Sooksomporn P and Poosiripinyo E

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Objective: To identify the most common broken components of wheelchair used by persons with disability.

Study Design: Descriptive study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

Subjects: Wheelchair users attending in-patient or out-patient unit of Department of Rehabilitation Medicine, Srinagarind hospital. Methods: Wheelchair users complete wheelchair questionnaires. Data were analyzed to determine components commonly broken and related factors.

Results: Out of 54 wheelchairs, 33 (61.1%) were broken. Most common broken components were brake (13) and caster (13). The distance of wheelchair mobility longer than 50 meters was significantly related with broken wheelchairs (p = 0.006; odd ratio 2.54). Average onset of wheelchair broken after being used was 26.78 months (SD = 23.51), and broken percentage at 12 and 24 months are 16% and 24% respectively.

Conclusion: Most common broken components are brake and caster which are related with distance of wheelchair mobility longer than 50 meters. It is recommended to have an annual wheelchair checkup.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาส่วนประกอบรถนั่งคนพิการที่ชำรุดบ่อย

รูปแบบการวิจัย: งานวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนคริทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยพิการที่ใช้รถนั่งคนพิการ

วิธีการศึกษา: ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ใช้รถนั่งคน พิการมารับบริการจากแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติหาค่าเฉลี่ย และ ความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการเสียของรถนั่งคนพิการ

ผลการศึกษา: เก็บข้อมูลรถนั่งคนพิการทั้งหมด 54 คัน ชำรุด 33 คัน (ร้อยละ 61.1) ส่วนประกอบที่ชำรุดบ่อยที่สุด ได้แก่ ห้ามล้อ (เบรก) และลูกปืนล้อหน้า อย่างละ 13 คัน (ร้อยละ 24) และจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าการใช้รถนั่งคนพิการ ระยะทางมากกว่า 50 เมตร มีความสัมพันธ์กับการชำรุดอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.006) คิดเป็น 2.54 เท่า โดยเริ่ม ชำรุดหลังจากใช้งานเฉลี่ย 26.78 เดือน (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 23.51) และหลังจากได้รับรถนั่งคนพิการเป็นระยะเวลา 12 เดือน ร้อยละ 16 ชำรุด และในระยะเวลา 24 เดือน ร้อยละ 42 ชำรุด

สรุป: ลูกปืนล้อหน้าและเบรกมีการชำรุดบ่อยที่สุด ร้อยละ 24.8 รถนั่งคนพิการควรได้รับการตรวจสภาพอย่างน้อยปีละครั้ง

Downloads

Issue

Section

Original Article