การศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อในนักกอล์ฟสมัครเล่น เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ตีได้ระยะทางเฉลี่ยสูงสุดต่างกัน
Keywords:
คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, กล้ามเนื้อ, นักกอล์ฟสมัครเล่น, Electromyography, muscle, amateur golferAbstract
Electromyographic Analysis in Amateur Golfers: Comparing between Golfers with Different Driving Distance
Prapanbandit N,* Srinkapaibulaya A,** Chaopricha W ***
*Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University;
**Thai Red Cross Rehabilitation Centre;
***Department of Orthopaedics, Vibhavadi Hospital
Objective: To compare electromyographic (EMG) activities of the muscles between amateur golfers with different driving distance.
Study design: Comparative study
Setting: Golf performance center, Vibhavadi Hospital, Bangkok, Thailand
Subjects: Twenty nine right-handed male amateur golfers: 14 golfers with the highest average driving distance less than 240 yards and 15 golfers with the driving distance more than 260 yards.
Methods: EMG activities of upper trapezius, triceps brachii, flexor carpi ulnaris (FCU), latissimus dorsi, gluteus maximus, rectus femoris and biceps femoris muscles on both sides were recorded with a wireless surface-EMG recorder (Myoresearch®) and synchronized with video data. The muscle activities were expressed as a percentage of maximum voluntary contraction (%MVC) activity for each phase of the golf -swing. Results: When comparing between the two groups, there were statistically significant differences in %MVC in the following muscles: lower part of the right FCU in acceleration phase, the left gluteus maximus in early follow-through phase and higher the right biceps femoris in acceleration phase (64.7% vs 81.9%,p=0.005, 96.5% vs 99.7%, p=0.050 and 96.3 vs 47.4%, p=0.01, respectively)
Conclusion: There were differences in some electromyographic activities between those having different driving distances. These may reflect an inappropriate use of muscles in the amateur golfers that causes low performance in driving distance.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อรยางค์ ระหว่างนักกอล์ฟสมัครเล่นที่ตีได้ระยะทางแตกต่างกัน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงวิเคราะห์
สถานที่ทำวิจัย: ศูนย์พัฒนาศักยภาพนักกอล์ฟ โรงพยาบาล วิภาวดีกรุงเทพมหานคร
ประชากรที่ศึกษา: อาสาสมัครนักกอล์ฟสมัครเล่นจำนวน 29 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ตีได้ระยะทางเฉลี่ยสูงสุดน้อยกว่า 240 หลา จำนวน 14 คน และกลุ่มที่ตีได้ระยะทางเฉลี่ยสูงสุดมากกว่า 260 หลา จำนวน 15 คน
วิธีการศึกษา: วัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ upper trapezius, triceps brachii, flexor carpi ulnaris (FCU), latissimus dorsi, gluteus maximus, rectus femoris และ biceps femoris ทั้งสองข้างของนักกอล์ฟในช่วงต่าง ๆ ของการตีกอล์ฟ ด้วย wireless surface-EMG recorder (Myoresearch®) แล้วนำ ค่าที่วัดได้มาแสดงผลเป็นร้อยละเมื่อเทียบกับค่าที่วัดได้ขณะ ทำ maximum voluntary contraction (%MVC) จากนั้นเปรียบ เทียบความแตกต่างระหว่างนักกอล์ฟสมัครเล่นทั้ง 2 กลุ่ม
ผลการศึกษา: เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม พบว่า %MVC แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อ FCU ขวา ในช่วง acceleration, กล้ามเนื้อ gluteus maximus ซ้าย ในช่วง early follow-through และกล้ามเนื้อ biceps femoris ขวา ในช่วง acceleration (64.7% vs 81.9%, p=0.005,96.5% vs 99.7%, p=0.050 และ 96.3 vs 47.4%, p=0.012 ตามลำดับ)
สรุป: นักกอล์ฟสมัครเล่นกลุ่มที่ตีได้ระยะทางเฉลี่ยสูงสุดน้อย กว่า 240 หลา มีการทำงานของกล้ามเนื้อบางมัดต่างจากผู้ที่ ตีได้ระยะทางไกลมากกว่า ที่บ่งชี้การใช้กล้ามเนื้อบางมัดไม่ เหมาะสมกับช่วงการตีกอล์ฟ จึงอาจทำให้ตีได้ระยะทางไม่ไกล