ความชุกของภาวะทุพโภชนาการในผู้ป่วยเด็กพิการสมองใหญ่ ที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลศิริราช

Authors

  • นันท์ชญาน์ ฉายะโอภาส ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศรีนวล ชวศิริ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กมลทิพย์ หาญผดุงกิจ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ทุพโภชนาการ, พิการสมองใหญ่, ความชุก, cerebral palsy, malnutrition, prevalence

Abstract

Prevalence of Malnutrition in Cerebral Palsy at department of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital

Chayaopas N, Chavasiri S, Harnphadungkit K

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital

Objective: To determine prevalence of malnutrition in cerebral palsy (CP) and factors related to malnutrition.

Design: Prevalence study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital

Subjects: Eighty-one cerebral palsy children, aged 1-15 years old, who attended the pediatric rehabilitation clinic during 1st February to 31st August 2010.

Methods: Height and weight of the subjects were measured and compared to the National Growth References for children under 20 years of age, 1999 which was announced by Ministry of Public Health Thailand. Weight for age lower than 3rd percentile was diagnosed as malnutrition.

Results: Twenty eight children or 34.6% of cerebral palsy had weight for age below 3rd percentile. Factors related to malnutrition were income (p=0.014), severity of disease (p=0.001), ambulation level (p=0.007), communication level (p=0.006), type of CP (p=0.004) and seizure (p=0.001).

Conclusion: The study revealed that 34.6% of children with cerebral palsy were malnourished. This high prevalence reminds health personnel to look for signs of malnutrition in cerebral palsy, especially in patients with seizure, severe condition, poor ambulation and low communication level.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะทุพโภชนาการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กพิการสมองใหญ่ที่มารับการรักษาที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาความชุก

สถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยเด็กพิการสมองใหญ่อายุตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปีที่มารับการรักษาเป็นผู้ป่วยนอกที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราชในช่วง 1 กุมภาพันธ์ – 31 สิงหาคม 2553

วิธีการศึกษา: สัมภาษณ์ผู้ดูแลโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลความเจ็บป่วยและการรักษาจากเวชระเบียน ตรวจร่างกายโดยทำการชั่งน้ำหนักและวัดความสูงของผู้ป่วย ประเมินภาวะทุพโภชนาการโดยใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูงและเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการอื่น ๆ ของประชาชนไทยอายุ 1 วัน-19 ปีพ.ศ. 2542 โดยถือว่า ค่าน้ำหนักตามเกณฑ์อายุที่น้อยกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 3 มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ทำการศึกษา 81 คน เป็น หญิง 40 คน ชาย 41 คน พบว่า มีภาวะทุพโภชนาการตามเกณฑ์ดังกล่าว จำนวน 28 คน คิดเป็น ร้อยละ 34.6 และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อภาวะทุพโภชนาการ ได้แก่ รายได้ของผู้ปกครอง (p=0.014) ระดับความรุนแรงของโรค (p=0.001) ระดับความสามารถ ในการเคลื่อนไหว (p=0.007) ความสามารถในการสื่อสาร (p=0.006) ชนิดของพิการสมองใหญ่ (p=0.004) และประวัติชัก (p=0.001)

สรุป: การคัดกรองหาภาวะทุพโภชนาการโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวพบว่า ผู้ป่วยเด็กพิการสมองใหญ่ที่หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู เด็กมีภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 34.6 ซึ่งจัดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรที่ศึกษา และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะทุพโภชนาการ ได้แก่ รายได้ของผู้ปกครอง ระดับความรุนแรงของโรค ระดับความสามารถในการเคลื่อนไหว ความสามารถในการสื่อสารชนิดของพิการสมองใหญ่ และ ประวัติชัก ดังนั้น ผู้ให้การดูแลเด็กพิการสมองใหญ่ควรตระหนักถึงโอกาสที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการของเด็กเหล่านี้ด้วย

Downloads

Issue

Section

Original Article