การเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วย คลื่นช็อคชนิดเรเดียลกับคลื่นเสียงความถี่สูงในผู้ป่วยที่มีกลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน

Authors

  • กัตติกา ภูมิพิทักษ์กุล กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ
  • อุทัยวรรณ เล็กยิ่งยง กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ
  • กิตติ ทะประสพ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ
  • เพ็ญทิพา เลาหตีรานนท์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ
  • พัชรี จันตาวงศ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ

Keywords:

radial shock wave therapy, ultrasound, myofascial pain

Abstract

A Comparison of the Effectiveness of Radial Shock Wave Therapy and Ultrasound in Myofascial Pain Syndrome of Upper Trapezius

Phumiphithakkun K, Lekyingyong U, Thaprasop K, Lauhatirananda P, Chantawong P.

Department Rehabilitation Medicine, Police General Hospital

Objective: To compare the effectiveness of radial shock wave therapy (RSWT) and ultrasound diathermy (UDS) in treating myofascial pain syndrome of upper trapezius

Design: Randomized clinical trial

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Police General Hospital.

Participants: Forty patients with myofascial pain syndrome of upper trapezius (36 females and 8 males)

Interventions: Patients were randomized into 2 groups. Group 1 received RSWT once a week and group 2 received UDS 3 times a week for 6 weeks. Both groups performed upper trapezius muscle stretching twice a day. The severity of pain were assessed by numeric rating scale for pain at 0, 4, 6 week during rest and work. Overall satisfaction, stretching exercise and oral taking paracetamol were evaluated by patients. SF-36V2 was assessed before and after treatment.

Results: Pain score in RSWT group was statistically significant difference from UDS group after 6 weeks of treatment: at rest (2.45 ± 2.83 and 4.2 ± 2.26, p=0.037) and at work (2.45 ± 2.72 and 4.4 ± 2.34, p=0.02). Patients satisfaction for RSWT is higher than that of UDS (p=0.013). SF-36 V2 score was higher than that of UDS (p=0.023).

Conclusion: Radial shock wave therapy is more effective for reducing pain than ultrasound at 6 week, either at rest or work. It is noninvasive treatment and consideration for chronic MPS and no response after conservative treatment.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระหว่างการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียล (radial shock wave therapy, RSWT) กับคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound diathermy, USD) ในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม

สถานที่ทำการวิจัย: กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลตำรวจ

กลุ่มตัวอย่าง: ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ที่มีคะแนนปวด ตั้งแต่ 5 ขึ้นไป จำนวน 40 ราย เป็นหญิง 36 ราย ชาย 4 ราย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 20 ราย

วิธีการ: กลุ่มที่ 1 จำนวน 20 ราย ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียล 1 ครั้งต่อสัปดาห์ กลุ่มที่ 2 จำนวน 20 ราย ได้รับการบำบัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ช่วงระยะเวลารักษานาน 6 สัปดาห์ โดยทั้ง 2 กลุ่ม ให้ยืดกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน วันละ 2 รอบ วัดผลโดยประเมินระดับอาการปวด (numeric rating scale for pain, NRS) ในขณะพัก และใช้งาน ที่ 0, 4 และ 6 สัปดาห์ การออกกำลัง ปริมาณยาแก้ปวดพาราเซตามอลที่ใช้ไป ความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วยตลอดการวิจัย และประเมินสุขภาพด้วยแบบสอบถาม SF-36 v2 ก่อนและหลังการรักษา

ผลการวิจัย: ที่ 6 สัปดาห์ ผลการลดปวดขณะพักในกลุ่ม RSWT แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่ม USD (2.45 ± 2.83 และ 4.2 ± 2.26, p=0.037) ผลการลดปวด ขณะใช้งานในกลุ่ม RSWT แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่ม USD (2.45 ± 2.72 และ 4.4 ± 2.34, p=0.02) ระดับความพึงพอใจของกลุ่ม RSWT มากกว่า กลุ่ม USD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.013) ระดับคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ SF-36 v2 หลังการรักษาของกลุ่ม RSWT สูงกว่ากลุ่ม USD อย่างมีนัยสำคัญสถิติ (p=0.023)

สรุป: การรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ด้วยคลื่นช็อคชนิดเรเดียล ลดปวดได้ผลดีกว่าคลื่นเสียงความถี่สูง ในสัปดาห์ที่ 6 ซึ่งแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจนำมาพิจารณาใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการให้รักษาแบบอนุรักษ์ อื่น ๆ และมีอาการปวดเรื้อรัง

 

Downloads