ผลการศึกษานำร่องการใช้เกมคอมพิวเตอร์ และเซนเซอร์ วัดแรง ในการช่่วยฝึกการทรงตัวแบบพลวัต ของผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง

Authors

  • ภาริส วงศ์แพทย์ แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, อำเภอสำโรงเหนือ, จังหวัดสมุทรปราการ
  • วันทนียา วัชรีอุดมกาล แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, อำเภอสำโรงเหนือ, จังหวัดสมุทรปราการ
  • ปราการเกียรติ ยังคง สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศุภเชษฐ์ ปัญญา สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • สนั่นดัง คูณสิริไพบูลย์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

Keywords:

เกมคอมพิวเตอร์, การทรงตัว, โรคหลอดเลือดสมอง, อัมพาตครึ่งซีก, computer game, sensor, balance, stroke, cerebrovascular disease, hemiplegia

Abstract

A Pilot Study on Immediate Effects of Interactive Computer Game on Weight Shifting Behaviour of Stroke Patients during Dynamic Balance Training

Wongphaet P1, Watchareeudomkarn W1, Youngkong P2, Panya S2, Koonsiripiboon S2

1Rehabilitation Medicine Center, Samrong General Hospital, Samrong Nuea, Samutprakarn

2Institute of Field Robotics, King Mongkut’s University of Technology Thonburi

Objective: To compare weight bearing of hemiplegic subjects during weight shifting training with and without computer feedback game.

Study Design: Quasi-Experimental Research

Setting: Rehabilitation Medicine Center, Samrong General Hospital, Samutprakarn, Thailand

Subjects: Stroke patients who had good standing balance, could follow an instruction and walk.

Methods: While standing with each foot on one of the two force sensor plates, the subjects tried to shift their body weight laterally to the left and to the right side for 10 times, first with and then without a computer game feedback on the screen.

Results: Eight subjects, 4 males and 4 females, took part in the study. The average age was 49.5 years (SD 10.51). The average time after stroke was 23.5 months (SD 15.54) and the average Functional Ambulation Classification (FAC) was 4.25. Percentage of maximum weight shift to the hemiplegic leg during no computer game feedback and during feedback conditions were 31.54 and 41.41percent respectively (p=0.027); and to the normal leg during no feedback and feedback conditions were 39.86 and 45.35 respectively (p=0.13).

Conclusion: The maximum weight bearing to the hemiplegic leg during weight shift training with a computer game feedback was greater than during training without feedback.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ลักษณะการถ่ายเทน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่าง การฝึกแบบใช้เกมเป็นตัวช่วยฝึก และแบบที่ไม่มีการป้อนกลับผ่านเกม

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)

สถานที่ทำการวิจัย: แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์, อำเภอสำโรงเหนือ, จังหวัดสมุทรปราการ

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ยินยอมเข้าร่วมวิจัย ทำตามขั้นตอนนการทดสอบได้ สามารถทรงตัว และเดินได้

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยยืนเหยียบแผ่นวัดแรงเหยียบทั้งสองด้วยเท้าข้างละแผ่น จากนั้นจึงลงน้ำหนักไปทางซ้ายและขวาให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้จำนวนสิบครั้ง โดยไม่มีการป้อนกลับด้วยเกม จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยเล่นเกม โดยการโยกตัวไปมาซ้ายสลับขวา เพื่อควบคุมให้จุดกลมในจอภาพเคลื่อนไปมาและสัมผัสเป้าหมาย บันทึกข้อมูลลักษณะการถ่ายเทน้ำหนักตัวและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบร้อยละการลงน้ำหนักที่เท้าแต่ละข้างระหว่างการไม่มีและการมีข้อมูลป้อนกลับผ่านการเล่นเกม

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบจำนวน 8 ราย เป็นชาย และ หญิงกลุ่มละ 4 ราย อายุเฉลี่ย 49.5 ปี (ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 10.51) เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองมานานเฉลี่ย 23.5 เดือน (ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.54) ผู้ป่วยมีคะแนนความสามารถในการเดินทางราบได้ อิง FAC เท่ากับ 4.25 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการไม่ใช้และการใช้เกมป้อนกลับขณะฝึกการทรงตัว พบว่าการลงน้ำหนักตัวไปยังขาข้างที่อ่อนแรงสูงสุด เท่ากับร้อยละ 31.54 และร้อยละ 41.41 ตามลำดับ (p=0.027) ส่วนค่าเฉลี่ยการถ่ายเทน้ำหนักตัวไปยังข้างที่ดี เท่ากับร้อยละ 39.86 และร้อยละ 45.35 (p=0.13) ตามลำดับ

สรุป: การใช้เกมคอมพิวเตอร์มีแนวโน้มช่วยเพิ่มการถ่ายเทน้ำหนักตัวในแนวซ้ายขวาให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองใน ระหว่างการฝึกยืนทรงตัว

Downloads