การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมองระยะ เฉียบพลันแบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา : ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลลัพธ์
Keywords:
การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟู, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคหลอดเลือดสมอง, health service accessibility, rehabilitation, stroke, inpatientsAbstract
Accessibility to Medical Rehabilitation Service for Acute stroke at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital: Related Factors and Outcomes
Suksathien R
Department of Rehabilitation Medicine, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital
Objectives: To study the characteristics of acute stroke patients, the details of rehabilitation and factors correlated with access to medical rehabilitation service.
Study design: A retrospective study
Setting: Inpatient wards at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital
Subjects: All acute stroke patients with age more than 18 years old, admitted in Maharat Nakhon Ratchasima Hospital during 1st October 2011 to 30th September 2012.
Methods: The patients’ general informations, diagnosis, treatments and rehabilitation were extracted from electronic medical records. Chi-square or Mann-Whitney U test was used to compare data between rehabilitation and non-rehabilitation groups and multivariate analysis to determine factors that correlated with rehabilitation consultation.
Results: Of 3,026 acute stroke inpatients, 64% were diagnosed with ischemic stroke, 36% were hemorrhagic stroke and 10% were operated. Mean length of stay at acute phase was 5.2 days and death rate was 26%. Eight percents of rehabilitation consultation and 30% of non-rehabilitation group died. Of all, 18% were transferred for rehabilitation consultation and 4% were transferred to rehabilitation ward. Mean length of stay at rehabilitation ward was 8.1 days. After multivariate analysis, factors related with rehabilitation consultation were discharge status, diagnosis, AIDS, aphasia, dysarthria, dysphagia, hospital acquired pneumonia, hemorrhagic transformation, alcohol use, address, sex and dyslipidemia.
Conclusion: Limited access to medical rehabilitation service was found in acute stroke inpatients. Factors that related with access to medical rehabilitation service were discharge status, diagnosis, consequence after stroke and comorbidity.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน รายละเอียดการฟื้นฟูสมรรถภาพ และปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟู
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบย้อนหลัง
สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราชนครราช-สีมา
กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน อายุมากกว่า 18 ปี ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง 30 กันยายน 2555
วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็คโทรนิคของโรงพยาบาล เก็บข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการรักษาข้อมูลการตรวจร่างกาย และข้อมูลการฟื้นฟูสมรรถภาพ ใช้สถิติเชิงพรรณา เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้ chi-square หรือ Mann-Whitney U test และหาปัจจัยที สัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูโดยใช้ multivariate analysis
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยในที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด จำนวน 3,026 ราย ร้อยละ 64 ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็น ischemic stroke ร้อยละ 10 ได้รับการผ่าตัด วันนอนเฉลี่ย 5.2 วัน ร้อยละ 26 เสียชีวิต โดยร้อยละ 8 ของผู้ป่วยที่ส่งต่อเพื่อปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่ไม่ปรึกษา เสียชีวิต มีเพียงร้อยละ 18 ที่เข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟู ร้อยละ 4 ถูกรับย้ายมาที่หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟู และมีวันนอนที่หอผู้ป่วยเวชกรรมฟื้นฟูเฉลี่ย 8.1 วัน ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูจากการวิเคราะห์แบบ multivariate ได้แก่ สถานะจำหน่าย การวินิจฉัยโรค โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีปัญหาการสื่อสาร พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ปอดติดเชื้อในโรงพยาบาล hemorrhagic transformation การดื่มสุรา ที่อยู่ เพศและไขมันในเลือดสูง
สรุป: การเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในระยะเฉียบพลันยังจำกัด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการเวชกรรมฟื้นฟูได้แก่ สถานะจำหน่าย การวินิจฉัยโรค ความบกพร่อง และโรคร่วม