คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ Vastus Medialis ขณะออกแรงใน ตำแหน่งของขาที่ต่างกัน

Authors

  • พัฒน์ สวรรค์พิทักษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วารี จิรอดิศัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายแบบ open kinetic chain, การออกกำลังกายแบบ closed kinetic chain, กล้ามเนื้อ vastus medialis, muscle electrical activities, open kinetic chain exercise, closed kinetic chain exercise, vastus medialis muscle

Abstract

Electrical activity of vastus medialis muscle in different leg positions

Swanpitak P and Chira-Adisai W

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University.

Objective: To measure electrical activities of vastus medialis muscle in different leg positions.

Study design: Cross-Sectional Study.

Setting: Rehabilitation Medicine Department, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital.

Subjects: Thirty volunteers with age ranging from 20 to 50 years.

Methods: Surface electromyography (EMG) recording muscle electrical activities of vastus medialis was applied during open kinetic chain isometric contractions at full knee extension (OC) and during closed kinetic chain semi-squats at 45-degree knee flexion (CC). Each exercise was performed in three different hip positions: neutral, adducted and external rotated. The muscle activities during middle 4-sec recording from the 8-sec trails of contraction were recorded by the root mean square technique and compared in each group.

Results: Fifteen men and fifteen women with age (standard deviation) of 30 (8.2) years were recruited. Means (standard deviation; μV) of vastus medialis muscle electrical activities during open kinetic chain isometric contractions with hip in neutral (OC-N), adducted (OC-AD) and external rotated (OC-ER) positions were 104.06 (44.05), 118.68 (53.55) and 113.16 (53.48) whereas they were 132.87 (50.40), 147.37 (50.91) and 144.71 (51.36) in the CC-N, CC-AD and CC-ER respectively. In the OC contraction group, the muscle electrical activities in OC-AD were higher than those OC-N (p <0.05) but there were no differences comparing the muscle electrical activities between OC-N and OC-ER, or OC-AD and OC-ER. Vastus medialis in CC-AD and CC-ER revealed significantly higher activities than in CC-N (p <0.05). A comparison of muscle electrical activities between CC-AD and CC-ER showed no significant differences.

Conclusion: Muscle electrical activities of vastus medialis muscle measured by the surface EMG were different in different leg positions. For close-kinetic chain exercise, the muscle electrical activities in CC-AD or CC-ER were statistically more than exercise CC-N. For open-kinetic chain exercise, only the muscle electrical activities in OC-AD were statistically more than exercise OC-N. When prescribing strengthening exercise for vastus medialis muscle, modifications of leg position were crucial to effectively facilitate the muscle activation.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อ vastus medialis ขณะออกแรงในตำแหน่งของขาที่ต่างกัน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา

สถานที่ทำวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

กลุ่มประชากร: อาสาสมัคร 30 คน อายุ 20 ถึง 50 ปี

วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อ vastus medialis ข้างขวาของผู้เข้าร่วมวิจัยโดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเกร็งกล้ามเนื้อ vastus medialis แบบ open kinetic chain isometric contraction ในท่าเหยียดเข่าสุด (OC) และแบบ closed kinetic chain isometric contraction ในขณะยืนและงอเข่าอยู่ที่มุม 45 องศา (CC) โดยแต่ละแบบขาอยู่ในท่า neutral, hip adducted และ hip external rotated ด้วยวิธีการตรวจกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าโดยใช้ตัวรับสัญญาณไฟฟ้าชนิดผิวบันทึกสัญญาณไฟฟ้าเป็นค่า Root mean square (RMS) เป็นเวลา 8 วินาที โดยตัดค่าช่วง 2 วินาทีแรกและ 2 วินาทีหลังออกแล้วนำค่าช่วง 4 วินาทีตรงกลางไปแปลผล

ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 30 ราย เป็นเพศชายและเพศหญิงอย่างละ 15 ราย อายุเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) คือ 30 (8.2) ปี พบว่าการออกกำลังกายแบบ open kinetic chain ในท่า neutral (OC-N), hip adducted (OC-AD), และ hip external rotated (OC-ER) มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้า (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน; ไมโครโวลต์) ดังนี้ 104.06 (44.05), 118.68 (53.55) และ 113.16 (53.48) สำหรับการออกกำลังกายแบบ closed kinetic chain ในท่า neutral (CC-N), hip adducted (CC-AD), และ hip external rotated (CC-ER) มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้า (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน; ไมโครโวลต์) ดังนี้ 132.87 (50.40), 147.37 (50.91) และ 144.71 (51.36) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบแล้วพบว่าการออกกำลังกายแบบ open kinetic chain ท่า OC-AD มีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่า ท่า OC-N อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) แต่เมื่อเทียบระหว่างท่า OC-N กับท่า OC-ER และท่า OC-AD กับท่า OC-ER พบว่าไม่แตกต่างกัน สำหรับการออกกำลังกายแบบ closed kinetic chain พบว่าท่า CC-AD และท่า CC-ER มีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าท่า CC-N อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) โดยที่ท่า CC-AD และท่า CC-ER ไม่แตกต่างกัน

สรุป: การวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อโดยตัวรับสัญญาณไฟฟ้า ชนิดผิวสำหรับกล้ามเนื้อ vastus medialis มีความต่างกันในตำแหน่งของขาที่ต่างกัน สำหรับการออกกำลังกายแบบ closed kinetic chain การออกกำลังในท่า CC-AD และท่า CC-ER ทำให้มีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่าท่า CC-N สำหรับ การออกกำลังกายแบบ open kinetic chain การออกกำลังท่า OC-AD จะมีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อดีกว่าท่า OC-N และท่า OC-ER การปรับตำแหน่งขาในขณะออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ vastus medialis จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

Downloads