การศึกษาย้อนหลัง 3 ปี ค่ารักษารวมที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ กรณีผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีแผลกดทับ ณ หอผู้ป่วย ฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

Authors

  • ปรัชญพร คำเมืองลือ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

แผลกดทับ, บาดเจ็บไขสันหลัง, การฟื้นสภาพ, ค่ารักษาที่เรียกเก็บ, เงินที่ สปสช.จ่ายคืนให้โรงพยาบาล, Pressure ulcer, spinal cord injury, rehabilitation, total admission charge, reimbursement

Abstract

A 3-year Retrospective Study on Total Admission Charge of Spinal Cord Injured Patients with Pressure Ulcer at Rehabilitation Ward, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Kammuang-lue P and Kovindha A

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objective: To study on total admission charge (TAC) and reimbursement of spinal cord injured (SCI) patients with pressure ulcer (PrU) at rehabilitation ward

Study design: Retrospective study

Subjects: SCI patients under a universal coverage admitted at the Rehabilitation Ward, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, during 2007-2009.

Method: Gathered data of diagnoses, TAC and reimbursement of SCI patients with pressure ulcers; then analyzed and compared data between groups of different treatments.

Results: Out of 318 SCI in-patients, there were 56 patients with PrUs: 70% paraplegics with a mean duration of SCI of 6 years. Among them, there were 77 PrUs and 61% was stage II and the most common site was at sacrum and coccyx (48%). Those treated surgically and conservatively, the mixed group (13 cases, 34 PrUs) had longest length of stay (LOS) (median 36 days); the conservative group (40 cases, 40 PrUs), had shorter LOS (median 20 days) and LOS was shortest (median 18 days) in the surgical group (3 cases, 3 PrUs). Comparing the TAC, the mixed group had highest charge due to multiple ulcers, followed by the surgical group and conservative group (median: 70,916, 50,778 and 23,626 Baht, respectively). When counting only those with PrUs as a principal diagnosis (8 cases), the surgical group (3 cases) had longer LOS (38 vs 21 days) and higher TAC (55,261 vs 37,134 Baht) than the conservative group (5 cases), however both groups had equal reimbursement rate, about 88%. When excluded an exceptional case of very long LOS, the LOS was significantly related with the TAC (multiple linear regression: R = .717, p <.001)

Conclusion: Total admission charge of spinal cord injured patients with pressure ulcers admitted at rehabilitation ward is related with the length of stay. When the principal diagnosis is pressure ulcer, those treated surgically had longer length of stay and higher charge than those treated conservatively; however the r eimbursement rates of both groups are relatively equal.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่ารักษารวมของผู้ป่วยบาดเจ็บ ไขสันหลังที่มีแผลกดทับระหว่างรักษาตัว ณ หอฟื้นฟูสภาพ

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีแผลกดทับ ที่ใช้ สิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและได้รับ การรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพ โรงพยาบาล มหาราชนครเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2552

วิธีการศึกษา: นำข้อมูลการวินิจฉัยโรค, ค่ารักษารวมที่โรง พยาบาลเรียกเก็บ และเงินที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) จ่ายคืนให้โรงพยาบาล มาวิเคราะห์และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการรักษาต่างกัน

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังเข้ารับการรักษา ทั้งหมด 318 คน โดย 56 คน เป็นผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ (ร้อยละ 70 เป็นอัมพาต/อัมพฤกษ์ครึ่งล่าง, ระยะเวลาหลังบาดเจ็บเฉลี่ย 6 ปี); มีแผลกดทับทั้งหมด 77 แผล โดยร้อยละ 61 มี ความรุนแรงระดับ 2; พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 48 ที่กระดูกใต้ กระเบนเหน็บและก้นกบ; ระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานที่สุด เป็นของกลุ่มที่รักษาแบบอนุรักษ์ร่วมกับการผ่าตัด (13 คน, 34 แผล, ค่ามัธยฐาน 36 วัน), รองลงมาคือ กลุ่มรักษาแบบอนุรักษ์ (40 คน, 40 แผล, ค่ามัธยฐาน 20 วัน) และสั้นที่สุดเป็นของ กลุ่มผ่าตัด (3 คน, 3 แผล, ค่ามัธยฐาน 18 วัน); เมื่อเปรียบเทียบ ค่ารักษารวมที่โรงพยาบาลเรียกเก็บพบว่ากลุ่มรักษาแบบอนุรักษ์ ร่วมกับการผ่าตัด มีค่ารักษารวมสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มผ่าตัด และกลุ่มรักษาแบบอนุรักษ์ (ค่ามัธยฐาน 70,916, 50,778 และ 23,626 บาท, ตามลำดับ); เมื่อนับเฉพาะผู้ป่วยที่แผลกดทับ เป็นการวินิจฉัยหลัก (8 คน: ผ่าตัด 3 คน, อนุรักษ์ 5 คน) กลุ่ม ผ่าตัดมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลนานกว่าและค่ารักษารวม สูงกว่ากลุ่มรักษาแบบอนุรักษ์ (38, 21 วัน; 55,261, 37,134 บาท ตามลำดับ) แต่ทั้งสองกลุ่มมีอัตราการเงินที่ สปสช. จ่าย คืนให้โรงพยาบาลเท่ากันคือประมาณ ร้อยละ 88 ของค่ารักษา รวมที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ. เมื่อตัดกรณีที่นอนนานผิดปกติ ออก 1 ราย พบว่าระยะเวลานอนโรงพยาบาลสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญกับค่ารักษารวมที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ (multiple linear regression: R = .717, p <.001)

สรุป: ค่ารักษารวมของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังที่มีแผลกดทับ และได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ หอผู้ป่วยฟื้นฟูสภาพมี ความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล; เมื่อนับเฉพาะ ผู้ป่วยที่แผลกดทับเป็นการวินิจฉัยหลัก, ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมี ค่ารักษาสูงกว่า และระยะวันนอนโรงพยาบาลมากกว่าผู้ที่ ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์ แต่อัตราเงินที่ สปสช. จ่ายคืนให้ โรงพยาบาลใกล้เคียงกัน

Downloads

Issue

Section

Original Article