ความรู้เกี่ยวกับภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติของนักศึกษา แพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Authors

  • ฐานกุล สุวพณิชพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

รีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติ, นักศึกษาแพทย์, ความรู้, autonomic dysreflexia, medical students, education, spinal cord injury

Abstract

Knowledge of Autonomic Dysreflexia of the 6th Year Medical Students at Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Suwhapanichpun T and Tongprasert S

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objective: To determine extent of knowledge about autonomic dysreflexia (AD) in the 6th year medical students including symptoms and signs, diagnosis, treatment and its complications; and to provide information for amendment of rehabilitation medicine course in medical curriculum.

Study design: Cross sectional descriptive study

Setting: Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Subjects: The sixth-year medical students of the academic year 2013 at Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Methods: The medical students were asked to answer a 6-item written questionnaire about AD. The total score is 32. They were asked to report their previous AD learning experience and their experience in treating AD in patients with spinal cord injury (SCI).

Results: One hundred seventy two medical students were recruited and 80.7 % reported having encountered patients with SCI. Two medical students had experience treating AD. Only 31.5% reported learning experience about AD. The average knowledge score on the questionnaire was 0.45 (SD 0.80, minimum 0, maximum 7). There were 51.2 % of medical students who could not score anything on the survey.

Conclusion: The 6th year medical students’ knowledge about autonomic dysreflexia is extremely insufficient in all aspects including causes, diagnosis, treatment and its complications. Therefore, teaching method of autonomic dysreflexia is strongly needed.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 เกี่ยวกับภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติในด้านอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษา และภาวะแทรกซ้อน ใน ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง เพื่อนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง

สถานที่ทำการวิจัย: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2556

วิธีการศึกษา: นักศึกษาทำแบบทดสอบความรู้เรื่องภาวะ รีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติแบบอัตนัย จำนวน 6 ข้อ คะแนนเต็ม 32 คะแนน รวมทั้งสอบถามถึงประสบการณ์ใน การดูแลรักษาผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง ประสบการณ์ในการ รักษาผู้พิการที่มีภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติและ ประวัติการเรียนการสอนเรื่องภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติ ผิดปกติ

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 172 คน ร้อยละ 80.7 เคย ให้การดูแลรักษาผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง 2 คน เคยมีประสบ- การณ์ในการรักษาผู้พิการที่มีภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติ ผิดปกติ มีนักศึกษาเพียงแค่ร้อยละ 31.5 ที่ตอบว่าเคยเรียนเรื่อง ภาวะรีเฟล็กประสาทอัตโนมัติผิดปกติ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ได้คะแนนรวมเฉลี่ยด้านความรู้ 0.45 + 0.80 คะแนน (ต่ำสุด 0 คะแนน, มากสุด 7 คะแนน) ร้อยละ 51.2 ได้คะแนน 0 คะแนน

สรุป: นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 มีความรู้เรื่องภาวะรีเฟล็ก ประสาทอัตโนมัติผิดปกติน้อยมากในทุกมิติ ทั้งสาเหตุการเกิด การวินิจฉัย การรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ดังนั้น ควร มีการปรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับภาวะรีเฟล็กประสาท อัตโนมัติผิดปกติในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตใหม่

Downloads