การเปรียบเทียบผลต่อการทรงตัวจากการฝึกเดินหลายทิศทาง กับการเดินตรงทิศทางเดียวบนลู่วิ่งสายพาน ร่วมกับ การพยุงน้ำหนักของร่างกายบางส่วนในผู้ป่วยพาร์กินสัน

Authors

  • รักษินา มีเสถียร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิธากร ธำรงเลาหะพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธีรธร พูลเกษ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วารี จิรอดิศัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไพโรจน์ บุญคงชื่น ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รุ่งทิพย์ สินิทธานนท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

โรคพาร์กินสัน, ฝึกเดินแบบหลายทิศทางโดยลู่วิ่งสายพานร่วมกับการพยุงน้ำหนักของร่างกายบางส่วน, การทรงตัว, Parkinson’s disease, Balance, Multi-directional partial body weight-supported treadmill training

Abstract

Comparison of Balance Improvement between Multi- directional and One-directional Patterns of Partial Body Weight Support Treadmill Training in Parkinson’s Disease

Meesathien R, Thamronglaohaphan P, Pulkes T, Chiraadisai W, Boonkongchuen P, Sirithanon R.

Department of Rehabilitation, Faculty of medicine, Ramathibodi hospital, Mahidol University

Objective: To compare balance improvement between multi-directional and one-directional patterns of partial body weight support treadmill training in Parkinson’s disease.

Study design: Experimental study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital

Subjects: Parkinson’s disease patients aged between 40 to 80 years, in Hoehn and Yahr stage 2-3 and were able to ambulate independently. One who was unable to exercise training such as demented, uncontrolled cardiopulmonary disease or musculoskeletal problems was excluded.

Methods: Patients were randomly assigned into two groups. The multi-directional group was trained by walking forward, backward and left and right side for 5 minutes each. The one-directional group walked only forward for 20 minutes. Both groups had 10 minutes for warm up and cool down. All patients were received 30-min treatment per session, 3 sessions per week, for 6 consecutive weeks. The patients were measured balance by functional reach test, 360-degree turning time, 5-step test and Tinetti Performance Oriented Mobility Assessment, and gait parameter by gait velocity, cadence and step length before and after treatment. The difference change of each parameter was compared using statistical significance at P 0.05).

Conclusion: The Multi-directional pattern PWSTT may improve functional reach test, step length, gait velocity and cadence but no statistical difference compared with one-directional pattern of PWSTT.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลต่อการทรงตัวจากการฝึกเดิน หลายทิศทางกับการเดินตรงทิศทางเดียวบนลู่วิ่งสายพาน ร่วม กับการพยุงน้ำหนักของร่างกายบางส่วนในผู้ป่วยพาร์กินสัน

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม

สถานที่ทำการวิจัย: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย- ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยพาร์กินสัน อายุระหว่าง 40-80 ปี มีความ รุนแรงของโรคระดับปานกลาง (Hoehn and Yahr stages 2-3) สามารถเดินได้ ไม่มีภาวะสมองเสื่อม โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ที่ควบคุมไม่ได้ ข้ออักเสบ หรือโรคประจำตัวที่มีข้อห้ามในการ ออกกำลังกาย

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยพาร์กินสัน เป็นสองกลุ่มโดยการสุ่มโดยกลุ่มที่ฝึกเดินหลายทิศทางให้ฝึกเดินไปข้างหน้า ข้างหลัง ซ้ายและขวาทิศทางละ 5 นาที ส่วนกลุ่มเดินทิศทางเดียวให้เดิน ไปทางตรงทางเดียว 20 นาที โดยทั้งสองกลุ่มให้มี warm up และ cool down รวม 10 นาที รวมเวลาฝึกทั้งหมด 30 นาที ต่อครั้ง โดยฝึก 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์ ติดต่อกัน ทำประเมินวัดค่าการทรงตัวได้แก่ ระยะเอื้อมของแขน, ระยะเวลาที่ใช้หมุนรอบตัว, ก้าวขึ้นบันไดสลับขา 5 ก้าว และ Tinetti Performance Oriented Mobility Assessment และ ตัวชี้วัดการเดินได้แก่ ความเร็วสูงสุดของการเดิน, จำนวนก้าว ต่อหนึ่งนาที และระยะทางของหนึ่งก้าว ก่อนและหลังฝึกครบ 6 สัปดาห์ ทำการเปรียบเทียบของการเปลี่ยนแปลงของตัวแปร ต่าง ๆ ระหว่างสองกลุ่ม โดยมีกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยพาร์กินสันที่ฝึกครบ 8 คนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน พบว่าค่าการทรงตัวและตัวชี้วัดการเดิน ไม่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งสองกลุ่ม แต่พบแนวโน้มการ เพิ่มขึ้นของ ระยะเอื้อมของแขน และระยะทางของหนึ่งก้าวใน ทั้งสองกลุ่ม และพบแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความเร็วสูงสุดของ การเดิน และจำนวนก้าวต่อหนึ่งนาที เฉพาะกลุ่มฝึกเดินหลาย ทิศทาง แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ P>0.05

สรุป: การฝึกเดินหลายทิศทางอาจทำให้ระยะเอื้อมของแขน, ระยะทางของหนึ่งก้าว, ความเร็วสูงสุดของการเดิน และจำนวน ก้าวต่อหนึ่งนาที ดีขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ

Downloads