การศึกษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในผู้ป่วยชายไทยที่มีการ บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังในโรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า

Authors

  • วันปณิธาน สุดเสน่หา กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • พศวีร์ ขวัญช่วย กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ชาญวิทย์ โพธิ์งามวงศ์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ไกรวัชร ธีรเนตร กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

บาดเจ็บไขสันหลัง, ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, spinal Cord Injury, testosterone deficiency, sexual dysfunction

Abstract

Testosterone Deficiency among Thai Men with Chronic Spinal Cord Injury at Phramongkutklao Hospital

Sudsaneha W, Kwanchuay P, Phongamwong C, Teeranet G

Department of Rehabilitation Medicine, Phramongkutklao Hospital

Objectives: To determine the prevalence of testosterone deficiency and relation to sexual dysfunction in Thai men with chronic spinal cord injury (SCI)

Study design: Cross-sectional study.

Setting: Rehabilitation ward and rehabilitation outpatient clinic, Phramongkutklao Hospital.

Subjects: Thai men with chronic SCI (more than 1 year) who were admitted to rehabilitation ward or attended the rehabilitation outpatient clinic from December 2012 to August 2013.

Methods: Serum testosterone levels were measured and the general and injury information was collected in all participants. The participants who had sexual activities after injury were requested to complete a questionnaire including the 15-item version of the International Index of Erectile Function (IIEF) for evaluating their sexual functions.

Results: Thirty eight SCI men were enrolled in this study. The median age and the median time since injury were 36 years old and 5.7 years, respectively. Fifty percent were paraplegia. Complete SCI was documented in 63.2%. Low serum testosterone level (<3.0 ng/ml) was detected in 10.5% of participants. 65.8% of all participants had sexual activities after injury. Of these, 84% presented with erectile dysfunction. Testosterone deficiency was not related to IIEF score in all domains.

Conclusion: Prevalence of testosterone deficiency among Thai men with chronic spinal cord injury was 10.5%. There was no relationship between testosterone deficiency and sexual dysfunction.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุกและความสัมพันธ์ต่อสมรรถภาพทางเพศของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในผู้ชายไทยที่มีการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง

สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยในและห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกกองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

กลุ่มประชากร: ผู้ชายไทยที่มีการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง (ได้รับบาดเจ็บนานมากกว่า 1 ปี) ซึ่งเข้ารับบริการที่หอผู้ป่วยในและห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือนธันวาคม 2555 ถึง เดือนสิงหาคม
2556

วิธีการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมน total testosterone เก็บบันทึกข้อมูลพื้นฐาน และรายละเอียดของการบาดเจ็บไขสันหลัง สำหรับผู้ที่มีกิจกรรม
ทางเพศหลังจากได้รับบาดเจ็บจะได้รับการประเมินสมรรถภาพทางเพศโดยการตอบแบบสอบถาม International Index of Erectile Function (IIEF)

ผลการศึกษา:มีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 38 ราย ค่ากลางอายุเท่ากับ 36 ปี ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับบาดเจ็บเท่ากับ 5.7 ปี เป็นอัมพาตครึ่งล่างร้อยละ 50 และเป็นอัมพาตชนิดสมบูรณ์ร้อยละ 63.2 โดยพบภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายจำนวน 4 รายคิดเป็นร้อยละ 10.5 ของผู้เข้าร่วมวิจัย และร้อยละ 65.8 ของผู้เข้าร่วมวิจัย มีกิจกรรมทางเพศหลังได้รับบาดเจ็บ โดยร้อยละ 84 ของผู้ร่วมวิจัยที่มีกิจกรรมทางเพศมีความผิดปกติของการแข็งตัวขององคชาต และภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายไม่มีความสัมพันธ์ต่อคะแนนสมรรถภาพเพศจากในทุกด้าน ๆ

สรุป: ความชุกของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในผู้ชายไทยที่มีการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง คือ ร้อยละ 10.5 และไม่พบความความสัมพันธ์ระหว่างภาวะหย่อนสมรรถภาพเพศกับภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย


Downloads