ประสิทธิผลการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหวสำหรับคนพิการทางการเห็นในจังหวัด หนองบัวลำภู

Authors

  • สุริยันต์ ปัญหาราช กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

Keywords:

การฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว, คนพิการทางการเห็น, ความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวัน, Orientation and Mobility (O&M), training visually disabled, performance

Abstract

Effectiveness of Orientation and Mobility Training for Visually Disabled Persons in Nongbualamphu Province

Panharach S

Department of Rehabilitation Medicine, Nongbualamphu hospital

Objective: To study outcome after orientation and mobility (O & M) training for the blind and low visually disabled.

Study designs: Observational and comparative study.

Setting: Nongbualamphu province

Subjects: 187 female and139 male visually disabled persons.

Methods: Compared performance score before and after orientation and mobility training.

Results: Totally performance score of all was significantly improved after O & M training (p<0.001). There were no different results between those with different degree of severity (p =0.66), types of training (p =0.92) and gender (p =0.42).

Conclusion: Orientation and mobility training improved activities of daily living performance of visually disabled persons in Nongbualamphu province.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเห็นก่อนและหลังการฝึกการทำความคุ้นเคย กับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว

รูปแบบการวิจัย: เชิงพรรณนาและเปรียบเทียบ

สถานที่ทำการวิจัย: จังหวัดหนองบัวลำภู

กลุ่มประชากร: คนพิการทางการเห็น เพศหญิง 187 ราย และเพศชาย 139 ราย

วิธีการศึกษา: ประเมินระดับความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันของคนพิการทางการเห็นโดยใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้น เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังเข้ารับการฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว

ผลการศึกษา: หลังฝึก คะแนนรวมความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ทั้งนี้ ระดับความพิการ รูปแบบการฝึก และเพศ ไม่มีผลต่อคะแนนความสามารถรวมในการดำรงชีวิตประจำวันหลังฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.66, 0.92 และ 0.42) ตามลำดับ

สรุป: การฝึกทักษะการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวช่วยเพิ่มระดับความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันของคนพิการทางการเห็นในจังหวัดหนองบัวลำภูได้

Downloads