ความสอดคล้องของการประเมินภาวะกลืนลำบากสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองโดยพยาบาล
Keywords:
ภาวะกลืนลำบาก, โรคหลอดเลือดสมอง, ความน่าเชื่อถือภายในผู้ประเมิน, dysphagia, stroke, intrarater reliabilityAbstract
Dysphagia Screening Test in Stroke Patients: Agreement (Reliability) of Evaluation Results Observed by a Registered Nurse
Ya-in S, Pusiripinyo E, Wattanapan P.
Department of Rehabilitation medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
Objectives: To determine intrarater reliability of registered nurse for dysphagia screening test in stroke patients
Study design: Cross-sectional descriptive study
Setting: Rehabilitation ward, Srinagarind hospital
Subjects: Thirty nine stroke patients who admitted at rehabilitation ward
Method: Registered nurse assessed stroke patients by observation of video recording of 39 stroke patients using dysphagia screening test which consist of 10 items; 1) level of consciousness, 2) unable to follow command, 3) impaired sitting balance, 4) poor lip control, 5) abnormal tongue movement, 6) decrease/ loss of gag reflex, 7) weak cough, 8) dysphonia, 9) dysarthria, and 10) delayed swallowing reflex. The assessment was done twice (4 weeks apart). Intrarater reliability was analyzed using Cohen’s kappa.
Results: There were 21 males (53.8%) and 18 females (46.2%) with an average age of 63.23 (SD 12.99) years old, 32 ischemic stroke (82.1%) and 7 hemorrhagic stroke (17.9%). The intrarater reliability (kappa) for item 1-10 were 1.000, 1.000, 1.000, 0.660, 0.464, 0.633, 0.783, 0.526, 0.637 and 0.322 respectively.
Conclusion: Intrarater reliability of registered nurse for dysphagia screening test in stroke patients had fair to very good reliability varying in each items.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสอดคล้องของการประเมิน ภาวะกลืนลำบากสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดย พยาบาลประจำหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู
รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง
สถานที่ทำการวิจัย: หอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล ศรีนครินทร์
กลุ่มประชากร: พยาบาลประจำหอผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู จำนวน 1 คน
วิธีการศึกษา: พยาบาล 1 คน ประเมินผู้ป่วยจากภาพบันทึก วีดีทัศน์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 39 คน โดยใช้แบบ ประเมินความเสี่ยงต่อการสำลัก ซึ่งประกอบด้วย 10 หัวข้อ ดังนี้ 1) ระดับการมีสติ 2) การไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ 3) การไม่สามารถทรงตัวในท่าศีรษะตรงได้ 4) เคลื่อนไหวริม ฝีปากลำบากหรือมีน้ำลายไหล 5) เคลื่อนไหวลิ้นลำบาก 6) ปฏิกิริยาการขย้อนลดลงหรือหายไป 7) เสียงไอค่อย 8) เสียง แหบหรือออกเสียงลำบาก 9) พูดไม่ชัด และ10) ปฏิกิริยาการ กลืนน้ำลายช้าลง ประเมิน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ จากนั้นนำ ข้อมูลที่ได้วิเคราะห์หา intrarater reliability โดยใช้ Cohen’s kappa
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นเพศชาย 21 คน (ร้อยละ 53.8) เพศ หญิง 18 คน (ร้อยละ 46.2) มีอายุเฉลี่ย 62.23 ปี (ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน 12.99) โดยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ 32 คน (ร้อยละ82.1) โรคหลอดเลือดสมองแตก 7 คน (ร้อยละ17.9) มี ความสอดคล้องของการประเมินภาวะกลืนลำบาก (intrarater reliability) แสดงผลเป็นค่า kappa เรียงตามลำดับ (1-10) ดังนี้ 1.000, 1.000, 1.000, 0.660, 0.464, 0.633, 0.783, 0.526, 0.637 และ 0.322
สรุป: ความสอดคล้องของการประเมินภาวะกลืนลำบากสำหรับ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ประเมินโดยพยาบาล อยู่ในระดับ ตั้งแต่ปานกลางจนถึงระดับดี