การศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อไหล่ในการตีกอล์ฟของ นักกอล์ฟอาชีพเปรียบเทียบกับนักกอล์ฟสมัครเล่น

Authors

  • เพชรพลอย ภูวคีรีวิวัฒน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อรรถฤทธิ์ ศฤงคไพบูลย์ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย
  • วีระยุทธ เชาว์ปรีชา ภาคออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลวิภาวดี
  • ปัญญา ไข่มุก ภาคออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลวิภาวดี

Keywords:

นักกอล์ฟอาชีพ, นักกอล์ฟสมัครเล่น, กล้ามเนื้อไหล่, Shoulder muscles, professional golfer, amateur golfer

Abstract

Electromyographic analysis of shoulder muscles in professional versus amateur golfers

Phuvakirivivat P*, Srinkapaibulaya A**, Chaopricha W***, Khaimuk P***

*Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

**Thai Red Cross Rehabilitation Center

* **Department of Orthopaedics, Vibhavadi Hospital

Objective: To compare electromyographic activities of the shoulder muscles between professional and amateur golfers during the different phases of the golf swing.

Study design: Analytic study

Setting: Golf performance center, Vibhavadi hospital, Bangkok

Subjects: Fourteen male right-hand professional golfer and fourteen male right-hand amateur golfers

Methods: Electromyographic activities of upper trapezius, posterior deltoid, infraspinatus, triceps brachii, latissimus dorsi, pectoralis major, biceps brachii muscles on both sides were recorded by a wireless surface-EMG recorder (Myoresearch®) during the different phases of the golf swing. Electromyographic data were synchronized with video data, and the muscle activity was expressed as a percentage of maximum voluntary contraction activity for each phase of the golf swing.

Results: Comparing to professional golfers, amateur golfers had statistically significant higher muscle activities in the following muscles : left pectoralis major, right infraspinatus, right triceps, right latissimus dorsi muscles(50.6vs27.7%,P=0.043, 50.7vs34.2%,P=0.031, 28.6vs14.5%,P=0.004, 21.1vs16.6%,P=0.048 respectively) in takeaway, right posterior deltoid , right infraspinatus, right biceps muscles (36.5vs13.9%,P=0.005, 35.6vs27.0%, P=0.039, 36.2vs17.3%,P=0.002 respectively) in forward swing, right posterior deltoid, right infraspinatus, right biceps muscles(41.1vs12.3%, P<0.001, 30.3vs23.3%, P=0.031, 35.3vs19.9%, P=0.009 respectively) in acceleration, right posterior deltoid muscle(54.6vs22.4%, P=0.003) in early follow-through, right pectoralis major muscle(57.3vs32.9%,P=0.022) in late follow-through.

Conclusion: Excessive shoulder muscles activities in amateur golfers might lead to injury more than professional golfers. An inappropriate use of shoulder muscles in amateur golfers in each phase of the golf swing might be a factor that caused amateur golfers not having as good performance as professional golfers in both distance and accuracy.ฃ

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวัดการทำงานของกล้ามเนื้อไหล่ขณะ ตีกอล์ฟของนักกอล์ฟอาชีพเปรียบเทียบกับนักกอล์ฟสมัครเล่น

รูปแบบการวิจัย: วิจัยเชิงวิเคราะห์

สถานที่ทำการวิจัย: ศูนย์พัฒนาศักยภาพนักกอล์ฟ โรงพยาบาลวิภาวดี

กลุ่มประชากร: อาสาสมัครนักกอล์ฟอาชีพจำนวน 14 คน และนักกอล์ฟสมัครเล่นจำนวน 14 คน เพศชาย ถนัดขวา

วิธีการศึกษา: วัดการทำงานของกล้ามเนื้อ Upper trapezius, Posterior deltoid, Infraspinatus, Triceps brachii, Latissimus dorsi, Pectoralis major, Biceps brachii ทั้งสองข้างด้วย เครื่อง surface EMG (Myoresearch®) บันทึกการทำงานของ กล้ามเนื้อขณะตีกอล์ฟเทียบกับความสามารถในการหดตัวของ กล้ามเนื้อสูงสุด คิดเป็น %maximal voluntary contraction (%MVC) และบันทึกการเคลื่อนไหวของวงสวิงด้วยกล้องวีดีโอวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบการทำงานของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ในแต่ละ phase ของการตีกอล์ฟ

ผลการศึกษา: นักกอล์ฟสมัครเล่นมีการทำงานของกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้สูงกว่านักกอล์ฟสมัครเล่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วง Takeaway กล้ามเนื้อ Pectoralis major ซ้าย, Infraspinatus ขวา, Triceps ขวา Latissimus dorsi ขวา(50.6 กับ 27.7%, P=0.043, 50.7 กับ 34.2%, P=0.031, 28.6 กับ 14.5%, P=0.004, 21.1 กับ 16.6%, P=0.048 ตามลำดับ) ช่วง Forward swing กล้ามเนื้อ Posterior deltoid ขวา, Infraspinatus ขวา, Biceps ขวา(36.5 กับ 13.9%, P=0.005, 35.6 กับ 27.0%, P=0.039, 36.2 กับ 17.3%, P=0.002 ตาม ลำดับ) ช่วง Acceleration กล้ามเนื้อ Posterior deltoid ขวา, Infraspinatus ขวา, Biceps ขวา(41.1 กับ 12.3%, P<0.001, 30.3 กับ 23.3%, P=0.031, 35.3 กับ 19.9%, P=0.009 ตาม ลำดับ) ช่วง Early follow-through กล้ามเนื้อ Posterior deltoid ขวา(54.6 กับ 22.4%, P=0.003) ช่วง Late follow-through กล้ามเนื้อ Pectoralis major ขวา(57.3 กับ 32.9%, P=0.022)

สรุป: นักกอล์ฟสมัครเล่นออกแรงใช้กล้ามเนื้อไหล่มากเกิน ความจำเป็นทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้มากกว่านักกอล์ฟ อาชีพ และนักกอล์ฟสมัครเล่นออกแรงไม่เหมาะสมกับช่วงเวลา ที่ควรเป็น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีความสามารถในการ ตีกอล์ฟได้ไม่ดีเท่านักกอล์ฟอาชีพทั้งในเรื่องของระยะทางและ ความแม่นยำ

Downloads