ผลจากการลดกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ ต่อปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง

Authors

  • สินธิป พัฒนะคูหา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

บาดเจ็บไขสันหลัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, กิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ, การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน, spinal cord injuries, cardiovascular disease, sedentary lifestyle, aerobic exercise

Abstract

Effect of Sedentary Activity Reduction on Cardiovascular Risk factors in Individuals with Spinal Cord Injury

Pattanakuhar S

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objective: To summarize effects of sedentary activity reduction on cardiovascular risk factors of individuals with spinal cord injury (SCI)

Methods: Review literature

Results: Prevalence of physical inactivity, one of cardiovascular (CV) risk factors, is high in individuals with SCI. Although there are many aerobic exercise protocols in order to decrease physical inactivity, it is impractical for individuals with SCI to complete them due to poor physical performance. Sedentary activity is defined by an activity of fewer than 100 per minute of accelerometer count. There are significant relationships between increased sedentary behavior time and cardiovascular risk factors in abled-body person. Therefore, sedentary activity reduction by increasing light intensity activity may be an effective and practical hypothesis to decrease cardiovascular risk factors in individuals with SCI.

Conclusion: Sedentary activity may be an effective and practical hypothesis to decrease cardiovascular risk factors in individuals with SCI. Further researches are needed to confirm this hypothesis.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อสรุปผลของการลดกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ ต่อปัจจัยเสี่ยง ต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง

วิธีการศึกษา: การทบทวนวรรณกรรม

ผลการศึกษา: ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่พบได้บ่อยใน ผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังได้แก่ การขาดกิจกรรมทางกาย ถึงแม้ว่าจะมีคำแนะนำให้แก้ไขภาวะนี้โดยใช้การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนในรูป แบบต่าง ๆ แต่พบว่าในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ยาก เนื่องจากผู้พิการมัก ขาดความสามารถทางกายที่จะออกกำลังกายให้ได้ความหนักและระยะ เวลาที่กำหนด กิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ที่จับวัดด้วยมาตรความเร่ง (accelerometer) น้อยกว่า 100 ครั้งต่อนาที มีการศึกษาในผู้ไม่พิการพบว่าปริมาณเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ สัมพันธ์เชิงบวกกับการเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น การลดระยะเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ โดยการเพิ่มการทำ กิจกรรมที่มีความหนักระดับเบาจึงเป็นสมมุติฐานที่น่าจะเป็นประโยชน์ และปฏิบัติได้จริงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้พิการ บาดเจ็บไขสันหลัง

สรุป: การลดระยะเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ เป็นสมมุติฐานที่ น่าจะเป็นประโยชน์และปฏิบัติได้จริงเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและ หลอดเลือดในผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังจึงควรมีการสร้างการศึกษาวิจัย เพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานดังกล่าวต่อไป

Downloads