ข้อมูลองศาเข่าในเด็กกรุงเทพมหานคร

Authors

  • นันทริกา เหลืองสุวรรณ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รัตนา รัตนาธาร ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

องศาเข่า, เข่าฉิ่ง, เด็ก, knee angulation, genu valgus, children

Abstract

Knee angular profile of children in Bangkok

Leungsuwan N and Rattanatharn R.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University

Objective: To study the knee angular profile of children in Bangkok and to compare the data with foreign children populations.

Study design: Cross-sectional analytic study.

Setting: Child Development Center of Nongjok, Thienprasitsart, Kukai, and Maneerut Kindergarten.

Subject: 219 healthy children aged 2 - 5 years with parental consent.

Methods: Data such as gender, body weight, and knee angulation were collected. Three markers were placed on each leg over the anterior superior iliac spine, mid patella, and bisection of bi-malleolar line. Then, children stood with hips and knees in fully extension for photos taken. From the photos, knee angulation was measured with a goniometer.

Results: There were 219 children: 117 males (53.42%) and 102 females (46.58%), aged from 2-5 years. After the age of 2 – 3, there was a significant decrease in valgus alignment when comparing between the 2-3 years-of-age and 3-4 years-of-age populations (p = 0.026). In general, knee angular profiles of male and female children were similar as they progressed toward a neutral knee angle, except in the 3-4 years of age population that males had less valgus than females (p = 0.024). In this study, the Intra-rater reliability correlation coefficient was 0.996. Moreover, when comparing with the knee angulation profile in Korean, there were significant knee angular differences among 2-3 years-ofage (p = 0.003) and 3-4 years-of-age (p < 0.001) populations. However, when comparing with the other study, knee alignment tended to progress toward a neutral knee angle after the age of 4 while this study was after the age of 2.

Conclusions: The knee angular profile of children in Bangkok, using the clinical measurement and the photographic method, was different from the other studies using the radiographic method, as it progressed toward a neutral knee angle after the age of 2 while other studies were after the age of 4. Moreover, the clinical measurement combining the photographic method is more practical than the radiographic method and can be used as a screening test.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาข้อมูลองศาเข่าเด็กกรุงเทพฯ และเปรียบ เทียบความแตกต่างองศาเข่ากับข้อมูลของเด็กต่างชาติ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ ช่วงเวลาใดเวลา หนึ่ง

สถานที่ทำการวิจัย: ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนเขต หนองจอก โรงเรียนอนุบาลเธียรประสิทธิ์ โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ และ โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์

กลุ่มประชากร: เด็กปกติอายุ 2 - 5 ปี จำนวน 219 คน ได้รับ ความยินยอมการตรวจจากผู้ปกครอง

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลเพศ น้ำหนัก ส่วนสูง องศาเข่าในเด็ก ถ่ายภาพขาสองข้างของเด็กในท่ายืนเข่าและสะโพกเหยียดตรง โดยทำเครื่องหมายที่สะโพก เข่า และข้อเท้า แล้ววัดองศาเข่า จากภาพถ่ายโดยใช้ไม้วัดพิสัยข้อ

ผลการศึกษา: กลุ่มศึกษา 219 คน อายุ 2 - 5 ปี เพศชาย 117 คน (ร้อยละ 53.42) เพศหญิง 102 คน (ร้อยละ 46.58) พบว่าหลังอายุ 2 ปี องศาเข่าเป็นเข่าฉิ่ง (genu valgus) น้อย ลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอายุ 2 - 3 และ 3 - 4 ปี (p = 0.026) ทั้งเด็กชายและเด็กหญิง องศาเข่ามีแนวโน้มใน ทิศเดียวกันในแต่ละช่วงอายุคือ องศาเข่าเป็นเข่าฉิ่งน้อยลง แต่ เด็กชายมีเข่าฉิ่งน้อยกว่าเด็กหญิงในอายุ 3 - 4 ปี (p = 0. 024) การศึกษานี้มีความเที่ยงตรงจากการวัดองศาเข่าของคน ๆ เดียวกัน (intrarater reliability) (r = 0.996) เมื่อเปรียบเทียบ องศาเข่ากับข้อมูลจากประเทศเกาหลีพบว่า มีความต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอายุ 2 - 3 ปี (p = 0.003) และ 4 - 5 ปี (p < 0.001) โดยเมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่อายุ 2 - 5 ปี องศา เข่าเด็กเกาหลีมีเข่าฉิ่ง มากขึ้น ในขณะที่เด็กไทยมีเข่าฉิ่งน้อย ลงในแต่ละช่วงอายุ

สรุป: ข้อมูลองศาเข่าของเด็กกรุงเทพฯ จากการตรวจร่างกาย และการวัดมุมจากภาพถ่ายมีแนวโน้มองศาเข่าเป็นเข่าฉิ่ง น้อย ลงตั้งแต่อายุ 2 ปี ต่างจากการศึกษาอื่น ๆ ที่เริ่มมีเข่าฉิ่ง น้อย ลงหลังอายุ 4 ปี อาจเนื่องมาจากความแตกต่างกันของสรีระ และพัฒนาการการเติบโตในแต่ละเชื้อชาติ และวิธีการในการ วัดองศาเข่า ทั้งนี้ การวัดองศาเข่าจากภาพถ่ายเป็นวิธีที่เหมาะ ในการคัดกรองผู้ป่วยองศาเข่าผิดปกติก่อนส่งตรวจทางรังสี วินิจฉัย

Downloads

Issue

Section

Original Article