นวัตกรรมหุ่นตอขาชนิดใต้เข่าเพื่อใช้ฝึกพันตอขา

Authors

  • สุณี เศรษฐเสถียร กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

Keywords:

การพันผ้ายืดตอขา, หุ่นจำลองตอขา, stump bandaging, stump manikin

Abstract

Innovation of Transtibial Stump Bandaging Manikin

Sethasathien S

Physical Medicine and Rehabilitation Department, Udonthani Hospital, Udonthani Provincial Public Health Office

Objective: To invent a new stump bandaging manikin that more resembles as a real transtibial stump, provides convenient use and gives more trainee’s satisfaction than do the previous models.

Study Design: Innovation of new medical manikin with an analytical study

Setting: Rehabilitation department, Udonthani hospital

Subjects: 4th-year medical, nurse and physical-therapist students attending at the Rehabilitation Department, Udonthani Hospital during March-September, 2011

Methods: A new model of transtibial stump bandaging manikin was invented with available materials and equipments in the prosthesis unit at Udonthani Hospital, technically being tested by specialists for remodeling. This new manikin and the previous rigid-foam and plaster models were used in stump bandaging practices. Then the students completed the self-administered questionnaires for satisfaction and they were collected for analysis.

Results:The new transtibial stump bandaging manikin consisted of 6-inch-length, club-shaped transtibial stump model, flexion-extension knee joint and lower part of thigh. Material of the manikin was firm but compressible and the model had light weight and could be firmly attached to the edge of a table or chair during use. Data from the questionnaires showed that the new manikin gave higher satisfaction scores than both the previous rigid foam model and the plaster model respectively in all 6 aspects of satisfaction including shape, compressibility, ease of bandaging , ease of installation of the manikin as well as the confidence and overall satisfaction of trainees after practice (p<0.01). However, the students’ self determined confidence scores ranged from fair to high level after training with any of the models.

Conclusion: The new model of transtibial stump bandaging manikin was more satisfactory for stump bandaging practice.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: สร้างหุ่นจำลองตอขาชนิดใต้เข่าเพื่อใช้ฝึกทักษะ การพันผ้ายืดตอขาที่มีลักษณะเสมือนตอขาผู้ป่วยจริงยิ่งขึ้น สะดวกต่อการใช้งาน ด้วยวัสดุที่จัดหาไม่ยาก และผู้ใช้มีความ พึงพอใจมากกว่าหุ่นตอขาแบบเดิม

รูปแบบการวิจัย: นวัตกรรมหุ่นทางการแพทย์ และ การวิจัย เชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ

สถานที่ทำการวิจัย: กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาล อุดรธานี

กลุ่มประชากร: นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักศึกษา กายภาพบำบัด ชั้นปีที่ 4 ที่มาฝึกงานที่กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลอุดรธานี ระหว่างเดือนมีนาคม-กันยายน 2554

วิธีการศึกษา: 1) สร้างหุ่นตอขาชนิดใต้เข่าแบบใหม่โดยใช้วัสดุ และเครื่องมือที่มีอยู่เดิมในงานกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลอุดรธานี ทดสอบการใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุง; 2) ใช้หุ่น จำลองแบบใหม่และหุ่นจำลองแบบเดิมคือแบบหุ่นปูนและแบบ หุ่นโฟมแข็งในการฝึกทักษะการพันผ้ายืดตอขาให้แก่นักศึกษา และศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักศึกษาด้วยแบบ สอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง

ผลการศึกษา:หุ่นจำลองตอขาชนิดใต้เข่าแบบใหม่ (แบบอุดร 1) ประกอบด้วย ส่วนตอขายาวประมาณ 6 นิ้ว ซึ่งรูปร่างส่วน ปลายของตอขาบานออกเล็กน้อย ข้อเข่าที่พับงอเหยียดได้ และ ต้นขาส่วนปลาย เนื้อหุ่นมีความยืดหยุ่นบีบรัดได้ ติดตั้งโดยยึด เกาะกับขอบโต๊ะ/เก้าอี้ระหว่างการใช้งานและมีน้ำหนักเบา ผล การทดสอบความพึงพอใจในการใช้ฝึกทักษะกับนักศึกษา จำนวน 68 ราย พบว่า คะแนนความพึงพอใจต่อหุ่นแบบอุดร 1 สูงกว่าหุ่นโฟมแข็งและหุ่นปูนตามลำดับ ในทั้ง 6 ด้าน คือ รูป ร่างลักษณะ ความอ่อนแข็งและยืดหยุ่นของเนื้อขา ความง่ายในการพันผ้ายืด ความสะดวกในการจับยึดหุ่นในขณะฝึก ความ รู้สึกมั่นใจของนักศึกษาว่าจะสามารถพันขาจริงได้ภายหลังการ ฝึกและความรู้สึกพอใจโดยรวมในการฝึกกับหุ่น (p<0.01) โดยที่คะแนนด้านความรู้สึกมั่นใจของนักศึกษาภายหลังการฝึกกับหุ่นตอขาทั้ง 3 แบบล้วนอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างดี

สรุป: หุ่นตอขาชนิดใต้เข่าแบบอุดร 1 สามารถสร้างความพึง พอใจและความมั่นใจในการฝึกทักษะการพันผ้ายืดตอขาได้ มากกว่าหุ่นตอขาแบบหุ่นปูนและหุ่นโฟมแข็ง

Downloads