ทัศนคติของนักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่มีต่อคนพิการทาง ร่างกายและการเคลื่อนไหว

Authors

  • รัชวรรณ สุขเสถียร กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

Keywords:

ทัศนคติ, คนพิการ, นักศึกษาแพทย์, แพทย์, Attitude, disabled persons, students, medical, physicians

Abstract

Attitudes of medical students and physicians toward persons with physical disability

Suksathien R

Department of Rehabilitation Medicine, Maharat Nakhon Ratchasima Hospital

Objective: To assess the attitudes and examine factors correlated with the attitudes toward persons with physical disability (PWD) of medical students and physicians graduated from medical education center, Maharat Nakhon Rachasima hospital.

Study design: Descriptive cross-sectional study

Setting: Medical education center, Maharat Nakhon Ratchasima hospital

Subjects: 208 medical students (125 preclinical and 83 clinical) and 30 physicians graduated from Medical education center, Maharat Nakhon Ratchasima hospital.

Methods: An Attitude Toward Disabled Persons Scale, Thai version (Thai-ATDP) and questionnaire including demographic data, previous experience, family history and contact with PWD, career interest in PM&R, selfrated knowledge and education experience about PWD and experience in treating PWD were collected.

Results: Medical students and physicians had positive attitudes toward PWD. There were significant differences between clinical medical students and physicians on the Thai-ATDP (p = 0.006). Clinical medical students had the most positive attitudes and physicians had the least. There was no significant difference in other factors. The median of self-rated knowledge was 1 (0=none, 4=a great deal). Seventy-four percent of preclinical, 43% of clinical medical students and 39% of physicians reported receiving “none” and “a little” education experience about PWD. There were significant associations between self rated knowledge and education experience (p < 0.001) and among three medical groups (p < 0.001).

Conclusion: Medical students and physicians had positive attitudes toward PWD. Clinical medical students had the most positive attitudes and physicians had the least. All study groups reported low self-rated knowledge and education experience about PWD. Specific education experiences should be applied in medical education curriculum to enhance attitudes and knowledge toward PWD.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับทัศนคติที่มีต่อคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวของ นักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากศูนย์ แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง สถานที่ทำการวิจัย: ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรง พยาบาลมหาราชนครราชสีมา

กลุ่มประชากร: นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ถึง 6 และแพทย์ที่ สำเร็จการศึกษาจากศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรง พยาบาลมหาราชนครราชสีมา

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย แบบวัดเจตคติที่มีต่อคนพิการฉบับภาษาไทย (The Attitudes Toward Disabled Persons, Thai version: Thai- ATDP) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ประสบการณ์การทำงาน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับคนพิการ ประวัติครอบครัวและโอกาสพบ หรือติดต่อกับคนพิการ ความสนใจเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ระดับความรู้และการเรียนการสอนเกี่ยวกับคนพิการจากการ ประเมินตนเองและประสบการณ์การดูแลรักษาคนพิการที่เจ็บป่วย

ผลการศึกษา: นักศึกษาแพทย์และแพทย์มีทัศนคติต่อคน พิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปานกลาง พบ ความแตกต่างของคะแนนเจตคติต่อคนพิการระหว่างนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกกับแพทย์ (p = 0.006) นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก มีคะแนนเจตคติต่อคนพิการสูงที่สุดและแพทย์มีคะแนนต่ำ ที่สุด สำหรับปัจจัยอื่นไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนนเจตคติ ต่อคนพิการ ค่ามัธยฐานระดับความรู้เกี่ยวกับคนพิการจากการ ประเมินตนเองได้เท่ากับ 1 โดยที่ 0 หมายถึงไม่มีความรู้ และ 4 หมายถึงมีมากที่สุด นักศึกษาแพทย์ชั้นพรีคลินิกร้อยละ 74 นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกร้อยละ 43 และแพทย์ร้อยละ 39 รายงานว่าไม่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับคนพิการหรือมีเพียง เล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ จากการประเมินตนเองกับระดับการเรียนการสอนเกี่ยวกับ คนพิการและกลุ่มระดับการศึกษา

สรุป: นักศึกษาแพทย์และแพทย์มีทัศนคติต่อคนพิการทาง ร่างกายและการเคลื่อนไหวในระดับปานกลาง นักศึกษาแพทย์ ชั้นคลินิกมีคะแนนเจตคติสูงที่สุด ส่วนแพทย์มีคะแนนต่ำที่สุด กลุ่มศึกษารายงานระดับความรู้และการเรียนการสอนเกี่ยวกับ คนพิการค่อนข้างต่ำ ควรเพิ่มประสบการณ์ที่เฉพาะเจาะจง เกี่ยวกับคนพิการในหลักสูตรแพทยศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่ม ทัศนคติที่ดีและความรู้เกี่ยวกับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว

Downloads

Issue

Section

Original Article