การปฏิบัติตามแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรค ข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Authors

  • ชินภัทร์ จิระวรพงศ์ ภาควิชาเวชศาตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

แนวทางปฏิบัติ, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, โรคข้อเข่าเสื่อม, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, Adherence, linical practice guideline (CPG), rehabilitation, osteoarthritis (OA) of knee, total knee replacement (TKR)

Abstract

Adherence to Inpatient Rehabilitation Clinical Practice Guideline for Patient with Knee Osteoarthritis after Total Knee Replacement

Gerawarapong C.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Naresuan University

Objectives: To study adherence to inpatient rehabilitation clinical practice guideline (CPG) for patient with knee osteoarthritis (OA), after total knee replacement (TKR) and to analyze the CPG adherence between all four physical therapists (PTs).

Study design: Retrospectively descriptive study

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Naresuan University

Subjects: One hundred and fifty three inpatients with OA of knee, after TKR

Methods: Medical records were reviewed retrospectively. Measurements of the CPG adherence were collected for evaluation and comparison between all PTs.

Results: All PTs followed every steps of the CPG, average of the CPG adherence was 14.56 from 16 (91%), (standard deviation; S.D. = 0.92) points, except the following: 1) range of motion (ROM) exercise for improvement of flexion (F) > 75-90 and extension (E) < 0-15 degrees (56.86%), 2) ambulation training (weight as tolerated on the surgical side) with walker (56.86%), and 3) home exercise program (56.86%), respectively. Nevertheless, none of the PTs did up & down stairs training with gait-aids (0%). The CPG adherence was incomplete due to 1) early discharge (D/C) (n = 66, 43.14%) and 2) absence of staircase with walking parallel bars (n = 87, 56.86%), respectively. The average knee ROM was 88.66 degree in flexion (S.D. = 4.14) and - 2.78 degrees (S.D. = 4.36) in extension.

Conclusion: The adherence to rehabilitation CPG was followed high usefulness. The CPG adherence was incomplete due to early discharge (D/C) condition and absence of staircase with walking parallel bar. Between all PTs, there were not significantly statistical differences of the CPG adherence.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามแนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ณ หอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร และวิเคราะห์การใช้แนวทางการ ฟื้นฟูฯ ระหว่างนักกายภาพบำบัดทั้ง 4 คน

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง

สถานที่ทำการวิจัย: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย นเรศวร

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า เทียม จำนวน 153 คน

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทาง การฟื้นฟูฯ และนำผลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบการปฏิบัติ ระหว่าง นักกายภาพบำบัดทั้ง 4 คน

ผลการศึกษา: นักกายภาพบำบัดทุกคนปฏิบัติตาม แนวทางการ ฟื้นฟูฯ เกือบทุกข้อ เฉลี่ย 14.56 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.92) ข้อ จาก 16 ข้อ (ร้อยละ 91) ยกเว้น 1) การฝึกให้ผู้ป่วย การออกกำลัง กายเพิ่มพิสัยงอข้อเข่าได้มากกว่าหรือเท่ากับ 75-90 องศา และ เหยียดข้อเข่าได้เกือบสุดหรือขาดน้อยกว่า -15 องศา (ร้อยละ 56.86), 2) การฝึกเดินลงน้ำหนักบนพื้นราบเท่าที่ทนไหว โดยใช้ อุปกรณ์ช่วยพยุงเดินชนิดสี่ขา (ร้อยละ 56.86) และ 3) การสอนท่า ออกกำลังกายเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปทำที่บ้าน (ร้อยละ 56.86) และไม่ มีนักกายภาพบำบัดคนไหนฝึกเดินขึ้นลงบันไดโดยใช้อุปกรณ์ช่วย เดิน ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วย 66 คน ถูกจำหน่ายก่อนสิ้นสุดการฟื้นฟู สมรรถภาพ (ร้อยละ 43.14) และขาดแคลนชุดบันไดและราวฝึกเดิน (ร้อยละ 56.86) ทั้งนี้ หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อเข่าของผู้ป่วย เฉลี่ยงอได้ 88.66 องศา (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.14) และเหยียด ได้ - 2.78 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.36) องศา ตามลำดับ

สรุป: การใช้ แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย นเรศวร บรรลุผลเกือบทุกข้อ ยกเว้นการฝึกเดินขึ้นลงบันได เนื่องจาก การจำหน่ายผู้ป่วยก่อนสิ้นสุดการฟื้นฟูสมรรถภาพ และความ ขาดแคลนชุดบันไดและราวฝึกเดิน

Downloads