อุบัติการณ์การบาดเจ็บระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในนักเรียน พยาบาลทหารบกหญิงชั้นปีที่ 1 ระหว่างการฝึกปรับสภาพทางทหาร

Authors

  • จุลีรัตน์ เตชะวรินทร์เลิศ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • พิเชษฐ์ เยี่ยมศิริ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

การบาดเจ็บระบบกล้ามเนื้อและกระดูก, การฝึก, ปรับสภาพทางทหาร, musculoskeletal injury, military training

Abstract

Incidence of Musculoskeletal Injuries in the First Year Royal Thai Army Female Nursing Students during the Basic Military Training

Tachavarinlert J and Yiemsiri P

Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Phramongkutklao Hospital.

Objectives: To study the incidence of musculoskeletal injuries in the first year Royal Thai army nursing students during the basic military training.

Study design: Descriptive, cross-sectional study.

Setting: The Royal Thai Army Nursing College.

Subjects: Eighty five females of the first-year Royal Thai army nursing students.

Methods: A questionnaire was completed by each subject during the basic military training. Demographic data, past medical history of musculoskeletal injuries, physical activity with measurements of Q angle, carrying angle and foot deformities were assessed. Physical fitness was tested before and after the basic military training. Data about musculoskeletal injuries occurring during the training period were collected.

Results: Of all, there were thirty students suffering from any kinds of musculoskeletal injuries (40%). The most common sites of injuries were knees (47.1%) ankles (44.1%), which were equal to lower legs (44.1%). The past medical history of musculoskeletal injuries was significantly related to the new injuries.

Conclusion: The incidence of musculoskeletal injuries in the first year royal Thai army nursing students during the basic military training was 40%. The past medical history of musculoskeletal injuries was significantly related to the new injuries during the basic military training.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: หาอุบัติการณ์การบาดเจ็บระบบกล้ามเนื้อและ กระดูกในนักเรียนพยาบาลทหารบกหญิงชั้นปีที่ 1 ระหว่างการ ฝึกปรับสภาพทางทหาร

รูปแบบงานวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการวิจัย: วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

กลุ่มประชากร: นักเรียนพยาบาลทหารบกหญิงชั้นปีที่ 1 จำนวน 85 นาย

วิธีการศึกษา: ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป การบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกในอดีต กิจกรรมทางกาย ตรวจร่างกายเพื่อวัด Q angle และ Carrying angle ความผิดปกติของเท้า ทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้ง ก่อนและหลังการฝึก เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการบาดเจ็บระหว่าง การฝึกทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์

ผลการศึกษา: มีนักเรียนพยาบาลทหารบกหญิงชั้นปีที่1 ที่ได้ รับบาดเจ็บระหว่างการฝึกปรับสภาพทางทหารจำนวน 34 นาย จากจำนวนทั้งหมด 85นาย คิดเป็นร้อยละ 40 ตำแหน่งที่พบมี การบาดเจ็บมากที่สุดคือ ข้อเข่าคิดเป็นร้อยละ47.1รองลงมา คือข้อเท้าและขาส่วนล่างพบการบาดเจ็บเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 44.1 โดยพบว่ามีเพียงประวัติการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและ กระดูกในอดีตที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บครั้งนี้ (p = 0.024, RR = 1.8, 95%CI of RR = 1.1 to 3.0)

สรุป: อุบัติการณ์การบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ในนักเรียนพยาบาลทหารบกหญิงชั้นปีที่ 1 ระหว่างการฝึกปรับ สภาพทางทหารพบได้ร้อยละ40 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการบาดเจ็บคือ ประวัติการบาดเจ็บในอดีตของระบบ กล้ามเนื้อและกระดูก

Downloads