การศึกษาระดับความลึกของชั้นกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยและ ระยะห่างจากผิวหนังถึงหลอดเลือดแดงเวอร์ติบรอล เพื่อการ ลงเข็มคลายจุดกล้ามเนื้อ

Authors

  • ธง พงษ์หาญยุทธ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • พีระกรณ์ นิธิกรอธิวัฒน์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย, หลอดเลือดแดงเวอร์-ติบรอล, การลงเข็มคลายจุด, Suboccipital muscles, vertebral artery, trigger point injection, dry needling

Abstract

The Study of the Thickness of Suboccipital Muscles and the Distance from Skin to Vertebral Artery for Trigger Point Release

Thong Phonghanyudh and Peerakorn Nitikornathiwat

Department of Physical Medicine and Rehabilitation, Phramongkutklao Hospital

Objectives: To study the thickness of suboccipital muscles from occiput to atlas, the distance from skin at each reference points on parallel line of atlas to vertebral artery and the distance from occiput to atlas for safe trigger point injection or dry needling.

Study design: Retrospective descriptive study

Setting: Physical Medicine and Rehabilitation Department and Radiology Department, Phramongkutklao Hospital

Subjects: Computed tomography scans of brain and neck of 143 patients

Methods: Thickness of suboccipital muscles was measured by using computed tomography scans from the reference points vertically set at 1 cm. and 2 cm. from occipital protuberance and at the level of posterior arch of atlas, and horizontally set at 1 cm., 2 cm. and 3 cm. from the spinous process. In addition the distances from skin at each reference points on atlas level to vertebral artery, and the distances from occiput to atlas was also measured. All data were calculated using mean and standard deviation (SD) and correlations between data and body mass index were analyzed.

Results: The mean thickness of suboccipital muscles from occiput to atlas ranged from 10.0 to 68.1 mm. The mean distance from skin at each reference point on parallel line of atlas to vertebral artery ranged from 32.1 to 56.0 mm. The mean distance from occiput to atlas ranged from 39.9 to 41.5 mm. There were no correlations between the thickness and the distances and body mass index.

Conclusion: The thickness of suboccipital muscles from occiput to atlas, the distance from skin at each reference points on parallel line of atlas to vertebral artery, and the distance from occiput to atlas vary. When using a 30 mm. acupuncture or 27G needle in an underweight female, a point at 2 cm. from spinous process at atlas level should be avoided for safe trigger point injection or dry needling.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความลึกของชั้นกล้ามเนื้อบริเวณ ท้ายทอยใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอย (occiput) ถึงระดับกระดูก สันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 (atlas), ระยะห่างจากผิวหนังที่จุดอ้างอิง ในแนวระดับปุ่มกระดูกท้ายทอย ถึงหลอดเลือดแดงเวอร์ติบรอล (vertebral) และ ระยะห่างจากใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอย ถึงระดับ กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 เพื่อการลงเข็มคลายจุดกล้ามเนื้อ อย่างปลอดภัย

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา

สถานที่ทำการวิจัย: กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู และ กองรังสีกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า

กลุ่มประชากร: ภาพถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองและคอ ของผู้ป่วยจำนวน 143 คน

วิธีการศึกษา: วัดระดับความลึกของชั้นกล้ามเนื้อบริเวณ ท้ายทอยจากมาตรวัดของคอมพิวเตอร์ที่ใช้แสดงผลภาพถ่าย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยกำหนดจุดวัดในแนวตั้งที่ระยะ 1 และ 2 ซม. ใต้ต่อปุ่มกระดูกท้ายทอย และที่ระดับกระดูกสันหลัง ส่วนคอชิ้นที่ 1 และจุดวัดในแนวนอนที่ระยะ 1, 2 และ 3 ซม. จากแนวกระดูกสันหลัง (spinous process),วัดระยะห่างจาก ผิวหนังที่จุดอ้างอิงในแนวระดับกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 ถึงหลอดเลือดแดงเวอร์ติบรอล และ วัดระยะห่างจากใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอยถึงระดับกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 จาก นั้นนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย และความสัมพันธ์กับค่าดัชนี มวลกาย

ผลการศึกษา: ระดับความลึกของชั้นกล้ามเนื้อคอบริเวณ ท้ายทอย ตั้งแต่ใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอยถึงระดับกระดูกสันหลัง ส่วนคอชิ้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 10.0 – 68.1 มม., ระยะห่างจาก ผิวหนังที่จุดอ้างอิงในแนวระดับกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 ถึงหลอดเลือดแดงเวอร์ติบรอล มีค่าเฉลี่ย 32.1 – 56.0 มม. ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ กับค่าดัชนีมวลกาย มีค่า ตั้งแต่ระดับต่ำจนถึงปานกลาง แต่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับ ระยะห่างจากใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอย ถึงระดับกระดูกสันหลัง ส่วนคอชิ้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 39.9 - 41.5 มม. มีความสัมพันธ์ระดับ ต่ำกับค่าดัชนีมวลกาย และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ระดับความลึกของชั้นกล้ามเนื้อคอบริเวณท้ายทอย ตั้งแต่ใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอยลงมาจนถึงระดับกระดูกสันหลัง ส่วนคอชิ้นที่ 1, ระยะห่างจากผิวหนังที่จุดอ้างอิงในแนวระดับ กระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 ไปจนถึงหลอดเลือดแดงเวอร์- ติบรอลและระยะห่างจากใต้ปุ่มกระดูกท้ายทอยลงมาจนถึง ระดับกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ทำการวัดและเพศ และมีความสัมพันธ์ กับค่าดัชนีมวลกายต่างกัน สำหรับการลงเข็มคลายจุดกล้ามเนื้อ ใต้ท้ายทอย อย่างปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงทิศทางที่ชี้ไปทาง ตำแหน่ง 2 ซม. จากแนวกึ่งกลางกระดูกสันหลัง ที่ระดับกระดูก สันหลังส่วนคอชิ้นที่ 1 ในผู้ป่วยเพศหญิงที่มีค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่าปกติ

 

Downloads