การผ่าตัดทางประสาทศัลยศาสตร์เพื่อแก้ไขความผิดปกติ ของการเคลื่อนไหวจากภาวะสมองพิการ - ตอนที่ 1: การผ่าตัด แบบตัดวงจรการทำงานของระบบประสาท
Abstract
Cerebral palsy (CP) is a common neurologic disorder in children who have developing brain. CP patients should be appropriately managed by multidisciplinary approach to achieve good therapeutic outcome. In cases with refractory motor disorders which have not responded to non-operative management, neurosurgical treatment is an essential option. Neurosurgery for CP can be classified into two major categories, including ablative neurosurgical procedure and neuromodulation therapy. In this part of article, the neuroablation will be mentioned alone.Lumbosacral selective dorsal rhizotomy is a commonly employed and effective surgical method in the treatment of spastic CP, particularly in the individuals with spastic diplegia. Ventral rhizotomy is presently abandoned operation in management of CP. Selective peripheral neurotomy is suitable for treating CP patients who suffer from focal and multifocal spasticity. Selective peripheral denervation is indicated for cervical dystonia, especially torticollic entity. Dorsal root entry zone lesioning is used to eliminate severe entire limb spasticity coinciding with pain. Brain lesioning procedure is appropriate for patients with generalized movement disorders or the abnormalities confined to unilateral side of the body. Currently, utilization of the brain lesioning has been diminished because it is mostly superseded by more effective and safer neurosurgical approaches, especially intrathecal baclofen therapy and deep brain stimulation. In addition, a number of CP patients requires combined multimodal surgery to achieve the best result.
บทคัดย่อ
ภาวะสมองพิการเป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่พบ ได้บ่อยในเด็กที่สมองกำลังพัฒนา ผู้ป่วยภาวะสมองพิการควร ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมโดยสหสาขาวิชาชีพเพื่อที่ จะได้ผลการรักษาที่ดี ในรายที่มีความผิดปกติของการเคลื่อน ไหวซึ่งดื้อต่อการรักษาโดยวิธีการนอกเหนือจากการผ่าตัด การ ผ่าตัดทางประสาทศัลยศาสตร์เป็นทางเลือกในการรักษาที่ สำคัญ การผ่าตัดทางประสาทศัลยศาสตร์สำหรับภาวะสมอง พิการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การตัดวงจรการทำงาน ของระบบประสาท (ablative neurosurgical procedure) และ การปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบประสาท (neuromodulation therapy) สำหรับบทความตอนนี้จะขอกล่าวเกี่ยวถึงเฉพาะการ ตัดวงจรการทำงานของระบบประสาท
การเลือกตัดรากประสาทรับความรู้สึกของไขสันหลังระดับ เอวและกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (lumbosacral selective dorsal rhizotomy) เป็นการผ่าตัดที่นิยมและมีประสิทธิภาพใน การรักษาภาวะสมองพิการแบบ spastic โดยเฉพาะในรายที่มี ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งของขาทั้งสองข้าง (spastic diplegia) การตัดรากประสาทสั่งการของไขสันหลัง (ventral rhizotomy) แทบไม่มีที่ใช้ในปัจจุบันในการรักษาภาวะสมองพิการ การเลือก ตัดเส้นประสาทส่วนปลายชนิดสั่งการ (selective peripheral neurotomy) เหมาะสมสำหรับรักษาผู้ป่วยสมองพิการที่มีภาวะ กล้ามเนื้อหดเกร็งเฉพาะที่หรือหลายตำแหน่ง การเลือกตัดเส้น ประสาทส่วนปลายชนิดสั่งการซึ่งควบคุมกล้ามเนื้อลำคอ (selective peripheral denervation) มีข้อบ่งชี้สำหรับโรค ดิสโทเนียของลำคอโดยเฉพาะดิสโทเนียของลำคอแบบศีรษะ หันข้าง (torticollis) การสร้างรอยโรคบริเวณทางเข้าของราก ประสาทรับความรู้สึกของไขสันหลัง (dorsal root entry zone lesioning) ใช้ในการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งที่เป็นรุนแรง ของแขนทั้งแขนหรือของขาทั้งขาโดยเฉพาะในรายที่มีอาการ ปวดร่วมด้วย การผ่าตัดเพื่อสร้างรอยโรคในสมอง (brain lesioning) เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการ เคลื่อนไหวทั้งตัวหรือซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายซึ่งในปัจจุบัน การผ่าตัดวิธีนี้มีที่ใช้น้อยลงเนื่องจากถูกแทนที่ด้วยการผ่าตัด ทางประสาทศัลยศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมาก กว่าโดยเฉพาะการให้ยา baclofen รูปแบบฉีดเข้าในช่องเยื่อ หุ้มไขสันหลัง (intrathecal baclofen therapy) และการกระตุ้น สมองส่วนลึก (deep brain stimulation) นอกจากนี้ในผู้ป่วย สมองพิการจำนวนหนึ่งต้องการการผ่าตัดหลายวิธีร่วมกันเพื่อ ให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด