การศึกษาองค์ประกอบทางร่างกายและ ร้อยละไขมันในนักกีฬา ยูโดเยาวชนไทยกลุ่มที่ได้รับชัยชนะกับไม่ได้รับชัยชนะ

Authors

  • ปิยาวัฒน์ ศรีสวัสดิ์นุภาพ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วิภาวรรณ ลีลาสำราญ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

องค์ประกอบร่างกาย, มานุษยวิทยา, ร้อยละไขมัน, นักกีฬา, ยูโด, body composition, anthropometry, fat percentage, judo, athlete

Abstract

Body Composition and Fat Percentage of Champion and Non-Champion Thai Youth Judo Athletes

Srisawatnupap P, Leelasamran W, Permsirivanich W

Physical Medicine and Rehabilitation Unit, Department of Orthopedics and Physical Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

Objective: To study body composition, fat percentage of Thai youth judo athletes and compare between champions group to non-champions.

Study design: A descriptive and comparative study.

Setting: The 26th National Youth Judo Competition of Thailand, Phetchabun.

Subjects: All Thai male youth judo athletes who participated in the competition.

Materials and Methods: All participants completed a questionnaire and underwent 7 standard skinfolds, 5 circumferences measurements. The equation of Chatlert et al. and other 4 commonly reported equations were used to calculate fat percentage. The relationship between each measurement, fat percentage and champion status was explored. The factor analysis was also used.

Results: Of the104 judo athletes, 32 were champions and 72 non-champions. The champion group had significantly higher judo experience (median 4 years; IQR 2 - 5) and age (median 17 years, IQR 16 - 18) than the non-champion (2 years, IQR 1 - 4; p < 0.026, 16 years, IQR 15-19; p < 0.019). Median values of body weight, height, body mass index, training intensity and all anthropometric values did not differ significantly between the 2 groups. Multivariate logistic regression analysis showed champion status to be associated with lower subscapular skinfold (odds ratio, OR, 0.84, 95% CI 0.75 - 0.93) and higher arm circumference (OR 1.53, 95% CI 1.20 - 1.94) but was not related to lower fat percentage, judo experience or age of the athlete. Factor analysis showed champion status to be associated with higher factor of body circumferences (OR 1.78; 95% CI 1.12 – 2.84; p < 0.01; AIC 122.41), but insufficient evidence with lower factor of skinfold thicknesses (OR 0.69; 95% CI 0.44 – 1.08; p < 0.09; AIC 122.41)

Conclusion: Among Thai male youth judo athletes, higher body circumferences were positively associated with champion status. The lower skinfold thickness needs to be addressed in future research.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบองค์ประกอบร่างกาย, ร้อยละไขมัน ในนักกีฬายูโดเยาวชนไทยกลุ่มที่ได้รับชัยชนะกับไม่ได้รับชัยชนะ

รูปแบบวิจัย: เชิงพรรณนาและ เปรียบเทียบ

สถานที่ทำกาวิจัย:การแข่งขันกีฬายูโดเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 26 จังหวัดเพชรบูรณ์

กลุ่มประชากร: นักกีฬายูโดเยาวชนไทยเพศชายทุกคนที่เข้าร่วม การแข่งขัน

วิธีการศึกษา: นักกีฬาที่ยินยอมเข้าร่วมการศึกษากรอกแบบ สอบถามด้วยตนเอง ทุกคนได้รับการวัดไขมันใต้หนัง 7 ตำแหน่งและ เส้นรอบวงร่างกาย 5 ตำแหน่ง คำนวณร้อยละไขมันโดยสมการของ ฉัตรเลิศและคณะ วิเคราะห์หาค่าความสอดคล้องกับ 4 สมการอื่นที่ ใช้บ่อย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่ามานุษยวิทยาและ ร้อยละ ไขมันที่ได้ กับการได้รับชัยชนะด้วยสมการถดถอยพหุคูณและ การ วิเคราะห์องค์ประกอบ

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 104 คน, กลุ่มได้รับ ชัยชนะ 32 คนและ ไม่ได้รับชัยชนะ 72คน, นักกีฬายูโดกลุ่มได้รับ ชัยชนะมีมัธยฐานของประสบการณ์การเล่น 4 ปี (IQR 2 - 5) และ มัธยฐานของอายุ 17 ปี (IQR 16 - 18) มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ ชัยชนะอย่างมีนัยสำคัญ (2 ปี; IQR 1 - 4; p < 0.026, 16 ปี; IQR 15 - 19; p < 0.019) เมื่อวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณพบว่า นักกีฬายูโดกลุ่มได้รับชัยชนะมีไขมันใต้หนังบริเวณใต้สะบักน้อยกว่า (OR 0.84; 95% CI 0.75 - 0.93) และมีเส้นรอบวงแขนใหญ่กว่า (OR 1.53; 95% CI 1.20 - 1.94) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับประสบ การณ์การเล่นยูโด, อายุนักกีฬาและ ร้อยละไขมัน เมื่อวิเคราะห์องค์ ประกอบแล้วพบว่ามีเพียง 2องค์ประกอบที่มีผลต่อชัยชนะคือ องค์ ประกอบเกี่ยวกับเส้นรอบวงร่างกายที่มากกว่ามีความสัมพันธ์กับ การได้รับชัยชนะ (OR 1.78; 95% CI 1.12 – 2.84; p < 0.01; AIC 122.41)อย่างมีนัยสำคัญ แต่ความสัมพันธ์ของชัยชนะกับองค์ ประกอบเกี่ยวกับไขมันใต้หนังที่น้อยยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ (OR 0.69; 95% CI 0.44 – 1.08; p < 0.09; AIC 122.41)

สรุป: นักกีฬายูโดเยาวชนไทยเพศชายกลุ่มที่ได้ชัยชนะมีองค์ ประกอบเส้นรอบวงร่างกายใหญ่กว่า ในอนาคตควรศึกษาเพิ่มเติม เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับชัยชนะกับไขมันใต้หนังน้อย

Downloads

Issue

Section

Original Article