ความชุกของภาวะปัสสาวะไหลย้อนของผู้ป่วย myelomeningocele ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Authors

  • ศรีสุดา หมั่นเที่ยง ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภัทรา วัฒนพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

กระเพาะปัสสาวะพิการ, ปัสสาวะไหลย้อน, myelomeningocele, neurogenic bladder, vesicoureteric reflux

Abstract

The Prevalence of Vesicoureteric Reflux in Patients with Myelomeningocele at Srinagarind Hospital

Mantiang S, Vichiansiri R, Wattanapan P

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Objective: To determine the prevalence of vesicoureteric reflux (VUR) and treatment outcome in myelomeningocele patients at Srinagarind Hospital.

Design: Retrospective descriptive study

Setting: Srinagarind hospital

Subjects: Thirty nine myelomeningocele patients with neurogenic bladder who underwent voiding cystourethrogram (VCUG) from January 1, 2000 to August 31, 2010 were included.

Method: The medical records were reviewed retrospectively. Demographic data, VCUG findings, treatment method and outcome were collected and analyzed.

Results: The prevalence of vesicoureteric reflux (VUR) in myelomeningocele patients with neurogenic bladder was 41%. Most of these patients were unilateral and grade III which were 69% and 33% respectively. In VUR group, the average age at first time of VUR detection was 7 (range from 3 months to 17 years), 62.5% were females and 37.5% were males. All sixteen patients with VUR received antibiotics and anticholinergic drugs in combination, or either one. Regarding to the bladder emptying methods after detecting VUR, 56% used external collector, 31% used indwelling catheterization and 12% used intermittent catheterization . Only eleven patients with VUR were complete followed up after treatments within one year and VUR were improved in eight patients. According to number of VUR improvement, VUR grade I are improved all of 5 sides, VUR grade III were improved 4 of 5 sides, VUR grade IV and V were improved 1 of 2 sides equally. Treatment outcome in unilateral VUR was better than bilateral VUR at 1-year follow up.

Conclusion: The prevalence of VUR in myelomeningocele patients with neurogenic bladder were 41%. A majority of them improved after the conservative treatment.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาความชุกและผลการรักษาภาวะ ปัสสาวะไหลย้อน ในผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากโรค myelomeningocele (MMC)

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง

สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลศรีนครินทร์

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากโรค MMC ที่รับการรักษา ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2543 ถึง 31 สิงหาคม 2553 และได้รับการตรวจ voiding cystourethrogram (VCUG)

วิธีการ: เก็บข้อมูลพื้นฐาน ผลการตรวจ VCUG วิธีการรักษา และผลการรักษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย แล้วนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ

ผลการวิจัย: ความชุกของการเกิดภาวะปัสสาวะไหลย้อนใน ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากโรค MMC คิดเป็นร้อยละ 41 ส่วนใหญ่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนเพียงข้างเดียวและมีความ รุนแรงระดับ 3 คิดเป็นร้อยละ 69 และ 33 ตามลำดับ อายุของ ผู้ป่วย ณ วันที่ตรวจพบภาวะปัสสาวะไหลย้อนครั้งแรกเฉลี่ย 7 ปี (3 เดือนถึง 17 ปี) เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.5 และชายร้อยละ 37.5 ในกลุ่มผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะปัสสาวะไหลย้อน จำนวน 16 ราย ทุกรายได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและหรือยาลด การหดเกร็งของกระเพาะปัสสาวะ สำหรับวิธีการขับถ่ายปัสสา วะหลังตรวจพบภาวะปัสสาวะไหลย้อน ใช้วิธีปัสสาวะเองร้อยละ 56 คาสายสวนปัสสาวะร้อยละ 31 และ สวนปัสสาวะด้วยตนเองร้อยละ 12 หลังได้รับการรักษาภายใน 1 ปีมีผู้ป่วยมา ติดตามการรักษา 11 ราย ในจำนวนนี้มีภาวะปัสสาวะไหลย้อน ดีขึ้น 8 ราย และเมื่อดูจำนวนข้างของภาวะปัสสาวะไหลย้อนที่ ทุเลาขึ้น พบว่าภาวะปัสสาวะไหลย้อนระดับ 1 จำนวน 5 ข้าง มีภาวะปัสสาวะไหลย้อนทุเลาขึ้นทั้งหมด ภาวะปัสสาวะไหล ย้อนระดับ 3 มีการทุเลาของภาวะปัสสาวะไหลย้อน 4 ใน 5 ข้าง ส่วนปัสสาวะไหลย้อนระดับ 4 และระดับ 5 มีการทุเลาของ ภาวะภาวะปัสสาวะไหลย้อน 1 ใน 2 ข้าง เท่ากัน ผู้ป่วยที่มีภาวะ ปัสสาวะไหลย้อนข้างเดียวมีอัตราการดีขึ้นของภาวะปัสสาวะ ไหลย้อนมากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะปัสสาวะไหลย้อน 2 ข้าง

สรุป: ความชุกของการเกิดภาวะปัสสาวะไหลย้อนไปที่ไตใน ผู้ป่วยกระเพาะปัสสาวะพิการจากโรค myelomeningocele คิด เป็นร้อยละ 41 และส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษา

Issue

Section

Original Article