ทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลังกายของแพทย์ประจำบ้าน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Authors

  • ดวงนภา ศิริโสภณ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิไล คุปต์นิรัติศัยกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, การออกกำลังกาย, แพทย์ประจำบ้าน, Attitudes, behavior, exercise, medical residents

Abstract

Objectives: To study the attitudes and behavior of exercise in residents of Faculty of Medicine, Siriraj Hospital.

Sirisopon D, Leewanun C, Kuptniratsaikul V

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University

Study design: Prospective cross-sectional study

Setting: Faculty of Medicine Siriraj Hospital

Subjects: The 1st-4th year residents of 15 departments of Faculty of Medicine, Siriraj Hospital

Methods: Questionnaires were sent to 753 residents. Data were analyzed and reported.

Results: The response rate was 36%, The 65.7% females and 34.3% males with mean age of 27.7 yr (SD 1.7). They believed that exercise was beneficial in combining with other treatment and could improve patient’s health status (93.7%, 95.5% respectively). Most of them (69%) knew the benefit of exercise. but they (46.1%) rarely exercise (1-2 time/mo.) and 25.1% of them did not exercise in the past 6 months but only 28.7% exercise regularly. The most favorite types of exercise were jogging, bicycling and aerobic dance with frequency of 46.2, 17.9 and 16.7 % respectively and the average time of exercise was 55.2 minutes/session (SD 34.9). The top 3 reasons of non-complying exercise group were no available time (68.9%), feeling fatigue (59.2%) and inconvenience (27.2%), However most of them (79.3%) still suggested their patients to performed exercise.

Conclusion: Most of the residents of Faculty of Medicine Siriraj Hospital had good attitudes towards exercise but less performed exercise. The main obstacles to exercise are no available time and feeling fatigue.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการออกกำลัง กายของแพทย์ประจำบ้าน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาภาคตัดขวางแบบไปข้างหน้า

สถานที่ทำการวิจัย: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

กลุ่มประชากร: แพทย์ประจำบ้านคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล ชั้นปีที่ 1-4 ของภาควิชาทางคลินิกและปรีคลินิก จำนวน 15 ภาควิชา

วิธีการศึกษา: ส่งแบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมการออก กำลังกายไปยังภาควิชาต่าง ๆ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาลจำนวน 753 ฉบับ

ผลการวิจัย: ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจากแพทย์ประจำ บ้านคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลจำนวน 271 คน (ร้อยละ 36) เป็นเพศหญิง 178 คน (ร้อยละ 65.7) อายุเฉลี่ย 27.7 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.7) ด้านทัศนคติพบว่าแพทย์ประจำ บ้านส่วนใหญ่มีทัศนคติว่า การออกกำลังกายจำเป็นต่อการ รักษาผู้ป่วย (ร้อยละ 93.7) และเห็นว่าหากผู้ป่วยมีการออก กำลังกายจะส่งผลดี (ร้อยละ 95.5) และให้ความเห็นเกี่ยวกับ ประโยชน์ของการออกกำลังกายคือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค (ร้อยละ 69) ส่วนด้านพฤติกรรม แพทย์ประจำ บ้านส่วนใหญ่ (ร้อยละ 46.1) ออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง (1-2 ครั้ง/เดือน) ผู้ที่ในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมาไม่ได้ออกกำลังกายมี ร้อยละ 25.1 มีแพทย์ประจำบ้านเพียงร้อยละ 28.7 ที่ออก กำลังกายเป็นประจำ โดยประเภทการออกกำลังกายที่นิยม มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นจักรยาน และ แอโรบิค-แดนซ์ (ร้อยละ 46.2,17.9 และ 16.7 ตามลำดับ) โดยเฉลี่ย นานครั้งละ 55.2 นาที (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 34.9) ส่วน สาเหตุของผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย 3 อันดับแรกเป็นจากปัญหา ด้านเวลา (ร้อยละ 68.9) ปัญหาด้านความอ่อนเพลียเหนื่อยล้า (ร้อยละ 59.2) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม (ร้อยละ27.2) แพทย์ ประจำบ้านส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.7) เคยให้คำปรึกษาเรื่องการ ออกกำลังกายแก่ผู้ป่วย

สรุป: แพทย์ประจำบ้านส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลัง กาย แต่พบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายยังไม่ดี อุปสรรคที่ สำคัญคือเวลาจำกัดและความอ่อนล้าจากการทำงาน

Downloads