ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับไปทำงานของผู้ป่วยหลังผ่าตัด หัวใจ

Authors

  • กิตติพล จิตต์อาจหาญ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • กนกกาญจน์ กอบกิจสุมงคล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • เพิ่มสุข เอื้ออารี ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ศิริพร แสงมณี ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • นพวรรณ แสนเจริญสุทธิกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

Keywords:

การกลับไปทำงาน, หลังผ่าตัดหัวใจ, ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับไปทำงาน, การฟื้นฟูหัวใจ, Return to work, Post open heart surgery, factor related return to work, cardiac rehabilitation

Abstract

Factors Relating to The Return to Work of the Patients Post Open Heart Surgery

Jitardhan K, Kobkitsumongkol K, Uaaree P, Sangmanee S, Sanjaroensuttikul N.

Department of Physical medicine and Rehabilitation, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol university.

Objectives: To study the incidence and factors relating to return to work of the patients after open heart surgery Study design: Descriptive study

Setting: Cardiac rehabilitation unit, Department of rehabilitation medicine, Ramathibodi hospital.

Subjects: Patients aged under 65 years old who have worked before open heart surgery and participated in cardiac rehabilitation program at Ramathibodi hospital.

Methods: The questionnaire containing demographic data and factors affecting return to work was introduced to each patient.

Results: 94 patients who underwent open heart surgery were recruited during November 2008 - December 2009. 34 patients (36%) could return to full time work within 3 months. The patient who could return to full time work was highly educated patient especially at least master degree (p=0.012), patient who had income more than 50,000 bahts per month (p=0.001), patients age less than 60 years old (p =0.012), patients who work in sedentary lifestyle (p0.000). The factors that correlated with return to work were post-operative symptom associated to work (p0.018), chest pain (p=0.002), anxiety about wound dehiscence or worsen of disease (p=0.008) and disagreement of family (p=0.000)

Conclusion: Thirty six percent of patients who underwent open heart surgery and cardiac rehabilitation could return to full time work within 3 months. The factors correlating with return to work were educational level, incomes, age, type of working, post-operative symptom, anxiety about worsen of disease or wound dehiscence and disagreement of family about return to work.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และประสิทธิภาพของการ กลับไปทำงาน และปัจจัยที่มีผลต่อการกลับไปทำงานของผู้ป่วย หลังจากได้รับการผ่าตัด และฟื้นฟูหัวใจ

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบไปข้างหน้า สถานที่ทำการวิจัย: แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ ภาควิชา เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 65 ปี ที่มีงาน ทำอยู่ก่อนการผ่าตัดหัวใจ และได้รับการฟื้นฟูกับแผนก เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ ที่ รพ.รามาธิบดี

วิธีการศึกษา: ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการกลับไป ทำงานหลังจากผ่าตัดหัวใจและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกลับ ไปทำงานและใช้แฟ้มข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อเก็บข้อมูลทั่วไป

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 94 คน ในช่วงเวลา พฤศจิกายน 2551- ธันวาคม 2552 พบว่าสามารถกลับไป ทำงานได้เต็มเวลาเหมือนก่อนผ่าตัดในช่วง 3 เดือนแรก 34 คน คิดเป็นร้อยละ 36 จากการเก็บข้อมูลหาปัจจัยที่มีผลต่อการ กลับไปทำงาน พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อการกลับไปทำงานได้ เต็มเวลาภายใน 3 เดือนอย่างมีนัยสำคัญคือ การศึกษา (p =0.012) โดยกลุ่มที่มีการศึกษาสูงกว่าหรือเทียบเท่าระดับ ปริญญาโทสามารถกลับไปทำงานเต็มเวลาได้มากที่สุด รายได้ มาก (p = 0.001) อายุน้อย (p=0.012) ลักษณะงานของผู้ป่วย (p = 0.000) โดยกลุ่มที่ลักษณะงานนั่งโต๊ะทำงานเป็นส่วนใหญ่ สามารถกลับไปทำงานได้มากที่สุด สำหรับปัจจัยที่มีผลให้กลับ ไปทำงานไม่ได้ได้แก่ อาการแน่นหน้าอกหลังผ่าตัด (p = 0.002) อาการผิดปกติอื่น ๆ ที่รบกวนการทำงานหลังผ่าตัด (p = 0.018) ความกังวลใจเรื่องอาการของโรคจะกำเริบหรือแผลผ่าตัดจะ แยก (p = 0.008) และครอบครัวไม่ เห็นด้วยกับการกลับไป ทำงาน ( p = 0.000)

สรุป: ร้อยละ 36 ของผู้ป่วยหลังผ่าตัด และฟื้นฟูหัวใจ สามารถ กลับไปทำงานได้เต็มเวลาภายใน 3 เดือน โดยปัจจัยที่มีผลต่อ การกลับไปทำงานได้แก่ การศึกษา รายได้ อายุ ลักษณะงาน อาการแน่นหน้าอกหลังผ่าตัด มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่รบกวน การทำงานหลังผ่าตัด ความกังวลใจเรื่องอาการของโรคจะ กำเริบหรือแผลผ่าตัดจะแยก และครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการ กลับไปทำงาน

 

Downloads

Issue

Section

Original Article