คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการบาดเจ็บไขสันหลังด้วย แบบสอบถามเอสเอฟ-36

Authors

  • ศิลดา วงศ์ษา ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแลผู้พิการ, บาดเจ็บไขสันหลัง, quality of life, primary caregiver, spinal cord injury

Abstract

Quality of Life of Primary Caregivers of Disabled People with Spinal Cord Injury by using Short Form-36 Questionnaire

Wongsa S, Tongprasert S, Kovindha A

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objective: To study quality of life (QOL) of primary caregivers of persons with spinal cord injury (SCI) and to compare QOL between those caring paraplegic and tetraplegic persons.

Study design: A cross-sectional and comparative study

Setting: Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital.

Subjects: Primary caregivers who took care of SCI persons for at least 1 year.

Methods: Primary caregivers completed 2 questionnaires: 1) demographic data and 2) SF-36.

Results: Fifty primary caregivers were included in this study. Mean age was 43.38 years (SD=11.19), 72% were females, 34% were spouses and 46% took care of paraplegic persons. Mean QOL scores of physical and mental components were 55.06 (SD=21.53) and 63.23 (SD=19.43), respectively. The highest mean QOL score was of social function, 74.7 (SD=18.64). The mean vitality and mental health scores of primary caregivers of paraplegic persons were significant higher than of tetraplegic persons (p=0.020 and p=0.024, respectively).

Conclusion: Primary caregivers of SCI patients had mean QOL scores above 50 indicating good quality of life, especially in the social function domain. Primary caregivers of paraplegics had better quality of life than those of tetraplegics.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลคนพิการบาด เจ็บไขสันหลัง และความแตกต่างของคุณภาพชีวิตระหว่างผู้ ดูแลคนพิการอัมพาต/อ่อนแรงแขนขาทั้งสองข้างและผู้ดูแลคน พิการอัมพาต/อ่อนแรงครึ่งล่าง

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบตัดขวางและเปรียบเทียบ สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ดูแลผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังนานมาก กว่า 1 ปี

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลทั่วไป และใช้แบบสอบถามเอสเอฟ- 36 เพื่อประเมินคุณภาพชีวิต

ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมการศึกษา 50 คน อายุเฉลี่ย 43.38 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.19) ร้อยละ 72 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 34 เป็นสามีหรือภรรยา และร้อยละ 46 เป็นผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต ครึ่งล่าง ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีดังนี้ ด้าน ร่างกายเท่ากับ 55.06 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 21.53) ด้าน จิตใจเท่ากับ 63.23 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 19.43) โดยมิติ การทำงานทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 74.7 (ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน 18.64) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ดูแล ผู้พิการอัมพาต/อ่อนแรงครึ่งล่างกับอัมพาต/อ่อนแรงทั้งตัวพบ ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2 มิติ คือมิติการมีชีวิต (p=0.020) และมิติสุขภาพจิตทั่วไป (p=0.024)

สรุป: ผู้ดูแลผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลังมีคะแนนเฉลี่ยเอสเอฟ- 36 มากกว่า 50 บ่งชี้คุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีมิติการ ทำงานทางสังคมดีกว่ามิติอื่น ทั้งนี้ผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต/อ่อน แรงครึ่งล่างมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ดูแลผู้พิการอัมพาต/อ่อนแรง ทั้งตัว

 

Downloads

Issue

Section

Original Article