คุณภาพชีวิตของผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรัง: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่คาสายสวนปัสสาวะและสวนปัสสาวะเป็นระยะ ๆ

Authors

  • เพชรไพลิน พงษ์บริบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สยาม ทองประเสริฐ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อภิชนา โฆวินทะ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

บาดเจ็บไขสันหลัง, การสวนปัสสาวะ, คุณภาพชีวิต, spinal cord injury, urinary catheterization, quality of life

Abstract

Quality of Life in Persons with Spinal Cord Injury: a Comparative Study between Those with Indwelling Catheterization and Intermittent Catheterization

Pongboriboon P, Tongprasert S, Kovindha A.

Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Chiang Mai University

Objectives: To compare quality of life (QOL) of persons with spinal cord injury (SCI) between those with indwelling catheterization (ID) and intermittent catheterization (IC) and find out reason for choosing ID as a main bladder management.

Study design: Cross-sectional and comparison study

Setting: Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Subjects: Chronic SCI persons with duration of injury more than a year who needed urinary catheterization as a main bladder management.

Methods: Subjects were interviewed and completed 2 questionnaires: 1) ISCOS (International Spinal Cord Society) core data Sets and lower urinary tract function basic data set and 2) WHOQOL-BREF-THAI. Those with ID were also asked why they chose ID.

Results: There were 108 individuals recruited into the study, 79% male, 64% are younger than 40 years old, 29% tetraplegic, 38% ID and 31% having urinary incontinence. There were no significant difference in the mean QOL scores of physical, psychological, social relationships and environmental between the two groups. Within the age group of more than 40 years old, those with ID had higher mean social QOL score than those with IC (9.8, 8.1; p=0.02). Using multivariate analysis, confounding factors such as bladder management, duration of injury, severity of injury and incontinence were controlled and only age more than 40 years old was significantly related with low physical (-1.9; 95%CI -3.8 to -0.2; p=0.03) and social QOL scores (-1.1; 95%CI -2.1 to -0.1; p=0.04). Ninety-five percent chose ID because of convenience.

Conclusion: Indwelling catheterization and intermittent catheterization have no different effects on quality of life of spinal cord injury persons. The main reason of choosing indwelling catheterization is convenience.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ที่บาดเจ็บไข สันหลังเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มที่คาสายสวนปัสสาวะและสวนปัสสาวะ เป็นระยะ ๆ และเหตุผลที่เลือกวิธีการคาสายสวนปัสสาวะ

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาแบบตัดขวางและเปรียบเทียบ

สถานที่ทำการวิจัย: โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

กลุ่มประชากร: ผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังเป็นเวลานานมาก กว่า 1 ปีและขับถ่ายปัสสาวะโดยการสวนปัสสาวะ

วิธีการศึกษา: ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูล ทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ (ISCOS core data Sets and lower urinary tract function basic data set) และ 2) แบบสอบถามเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การ อนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) สำหรับผู้ที่คาสายสวนปัสสาวะต้องตอบแบบสอบถามเรื่องเหตุ ที่เลือกการคาสายสวนปัสสาวะ

ผลการศึกษา: ผู้ที่บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังทั้งหมด 108 คน ร้อยละ 79 เป็นเพศชาย, ร้อยละ 64 อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี, ร้อยละ 29 เป็นอัมพาตทั้งตัว, ร้อยละ 38 คาสายสวน ปัสสาวะ, ร้อยละ 62 สวนปัสสาวะเป็นระยะ ๆ และร้อยละ 31 มีปัสสาวะเล็ดราด. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ กาย, ด้านจิตใจ, ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. เมื่อแยกพิจารณาแต่ละปัจจัยพบว่าที่ช่วงอายุมากกว่า 40 ปี กลุ่มคาสายสวนปัสสาวะมีค่าเฉลี่ยคะแนนด้านสัมพันธภาพทางสังคมสูงกว่ากลุ่มที่สวนปัสสาวะเป็นระยะ ๆ อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (9.8, 8.1, p=0.02). เมื่อใช้ multivariate analysis เพื่อควบคุมตัวแปร ได้แก่ การสวนปัสสาวะ, ระยะเวลา ที่เป็นอัมพาต, ความรุนแรงของอัมพาต และการกลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ พบว่าอายุมากกว่า 40 ปี มีความสัมพันธ์เชิงลบต่อคะแนน คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย (-1.9; 95%CI -3.8 to -0.2; p=0.03) และด้านสัมพันธภาพทางสังคม (-1.1; 95%CI -2.1 to -0.1; p=0.04). ส่วนเหตุผลที่เลือกคาสายสวนปัสสาวะนั้น ร้อยละ 95 ระบุว่าการคาสายสวนปัสสาวะสะดวกกว่าการสวน ปัสสาวะเป็นระยะ ๆ

สรุป: การคาสายสวนปัสสาวะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ที่ บาดเจ็บไขสันหลังเรื้อรังไม่แตกต่างจากการสวนปัสสาวะเป็น ระยะ ๆ และเหตุผลหลักที่เลือกคาสายสวนปัสสาวะคือความ สะดวก

 

Downloads