ผลการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหลังการผ่าตัดย้ายเส้นประสาท ในกลุ่มผู้ป่วยข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บ: การวิจัยแบบสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม

Authors

  • รุ่งทิพย์ โชคไพรสิน กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

Keywords:

ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บ, การผ่าตัดย้ายเส้นประสาท, การกระตุ้นไฟฟ้า, การฟ้ืนตัวของกล้ามเนื้อ, brachial plexus injury, nerve transfer, electrical stimulation, muscle recovery

Abstract

Effect of electrical stimulation after nerve transfer in brachial plexus injury: a randomized control trial

Chokpraisin R.

Rehabilitation Medicine Division, Lerdsin General Hospital, Department of Health Service, Ministry of Public Health

Objective: To compare the effect of electrical stimulation (ES) after nerve transfer in patients with brachial plexus injury (BPI) at root level.

Study design: Randomized control trial

Setting: Rehabilitation Medicine Division, Lerdsin General Hospital

Subjects: Thirty two BPI patients, with total arm type at root level, whom were operated either by nerve transfer from phrenic by sural nerve graft or ulnar nerve to musculocutaneous nerve.

Methods: By block randomization, each group had 16 patients. An ES group was treated with range of motion and strengthening exercise and ES 15 minutes twice a day for 90 days while a control or non-ES group had only exercise. For the ES group, they applied ES at home and were monitored by telephone daily. Strength of biceps brachii muscle was measured with EMG biofeedback, circumference of mid arm was measured in centimeters, and degree of denervation signs by needle EMG was assessed at 2.5 and 9 months post operation.

Results: Comparing between measurements at 2.5 and 9 months after surgery, voltages of biceps brachii muscle were increased to 31.75 μV in both ES and non-ES groups (p = 0.002). Mid arm difference circumferences of non-ES group was 0.34 cm. (p = 0.016) while the ES group was 0.09 cm. (p = 0.509). Mid arm circumferences difference in control group was 0.34 cms which was larger than of the trial group (0.09 cms) (p = 0.19). Denervation signs were similar in both groups, profound (4+) at 2.5 months and decreased to 3+ at 9 months.

Conclusion: After nerve transfer in patients with complete and incomplete total arm type brachial plexus injury at root level, adding electrical stimulation at biceps brachii muscle gave no difference in muscle mass, strength and degree of denervation as exercise only.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหลัง การผ่าตัดย้ายเส้นประสาทในกลุ่มผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วน แขนบาดเจ็บทั้งหมดและบาดเจ็บบางส่วนที่ระดับรากประสาท

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงการทดลอง

สถานที่ทำการวิจัย: กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล เลิดสิน

กลุ่มที่ทำการวิจัย: กลุ่มผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บ ที่ระดับรากประสาท จำนวน 32 ราย ชนิดบาดเจ็บทั้งหมดและ บาดเจ็บบางส่วน อย่างละ 16 ราย ซึ่งได้ทำการผ่าตัดย้ายเส้น ประสาทจากเส้นประสาทฟรีนิค (phrenic) โดยซูรอลกราฟท์ (sural nerve graft) หรือ อัลนาร์ (ulnar) ไปยังเส้นประสาทมัสคู โลคิวเทเนียส (musculocutaneous) ซึ่งเลี้ยงกล้ามเนื้องอข้อศอก (biceps brachii)

วิธีการศึกษา: แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีสุ่มแบบ block randomization สอนการขยับข้อแขนและการออกแรงเกร็ง กล้ามเนื้อให้ทุกราย กลุ่มทดลองได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า 2 ครั้ง/วัน ห่างกัน 6 ชั่วโมง นานครั้งละ 15 นาที เป็นเวลา 90 วันด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ารุ่นเลิดสิน 2 โดยให้ยืมเครื่องไปทำที่ บ้านและมีตารางตรวจสอบติดตามทางโทรศัพท์ทุกวัน ส่วน กลุ่มควบคุมไม่มีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า รวบรวมข้อมูลการ ฟื้นตัวของกล้ามเนื้องอข้อศอก โดยเครื่อง EMG biofeedback, เส้นรอบวงต้นแขน และลักษณะคลื่นไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อที่บ่งชี้การขาดเส้นประสาทเลี้ยง (denervation signs) ที่ระยะเวลา 2.5 และ 9 เดือน

ผลการศึกษา: การศึกษาเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ที่ช่วงเวลา 2.5 และ 9 เดือนหลังการผ่าตัดพบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมต่างก็มีค่าศักย์ไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นเท่ากันคือ 31.75 ไมโครโวล์ท (p =0.002) เส้นรอบวงต้นแขนมีขนาดเฉลี่ย ใหญ่ขึ้นโดยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะในกลุ่มควบคุมคือ ขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้น 0.34 ซม. (p = 0.016) ส่วนกลุ่มทดลองนั้น มีขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้น 0.09 ซม. (p = 0.509) เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มที่เวลา 9 เดือน ค่าศักย์ไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อของกลุ่ม ทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากันคือ 31.75 ไมโครโวล์ท ส่วน เส้นรอบวงต้นแขนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองใหญ่ขึ้นเท่ากับ 0.09 ซม. ส่วนกลุ่มควบคุมใหญ่ขึ้นเท่ากับ 0.34 ซม. ซึ่งแตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญ (p-value = 0.19) และพบว่าลักษณะคลื่นไฟฟ้า จากกล้ามเนื้อที่บ่งชี้การขาดเส้นประสาทเลี้ยงนั้นลดลงจาก ระดับ 4 (มากที่สุด) ที่เวลา 2.5 เดือน เหลืออยู่ระดับ 3 (มาก) ที่เวลา 9 เดือน ทุกรายทั้งสองกลุ่ม

สรุป: การกระตุ้นไฟฟ้าหลังการผ่าตัดย้ายเส้นประสาทในกลุ่ม ผู้ป่วยที่ข่ายประสาทส่วนแขนบาดเจ็บทั้งหมดและบาดเจ็บบาง ส่วนที่ระดับรากประสาท ให้ผลไม่ต่างจากการบำบัดด้วยการ ทำกายบริหารอย่างเดียว

Downloads

Issue

Section

Original Article