การศึกษาผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยและการฟื้นตัวในกลุ่มผู้ป่วย บาดเจ็บร่างแหประสาทแขน ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Authors

  • พรพัฒน์ ปรีฐวัฒน์ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • สุมาลี ซื่อธนาพรกุล กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Keywords:

บาดเจ็บร่างแหประสาทแขน, ไฟฟ้าวินิจฉัย, การฟื้นตัว, trauma, brachial plexus injury, electrodiagnosis, recovery

Abstract

Electrodiagnostic Study and Recovery in Patients with Traumatic Brachial Plexus Injuries at Phramongkutklao Hospital

Preetawat P and Suethanapornkul S

Department of Rehabilitation Medicine, Phramongkutklao Hospital.

Objectives: To study epidemiology, neurophysiologic results and recovery in patients with traumatic brachial plexus injuries (BPI).

Study design: A retrospective study.

Setting: Department of Rehabilitation Medicine, Phramongkutklao Hospital.

Subjects: Patients with traumatic BPI who received rehabilitation program and electrodiagnostic test from January, 1996 to December, 2005.

Methods: Collected demograpic data, causes, level, and severity of BPI by electrodiagnostic test and followed recovery after treatment

Results: One hundred and sixty four patients with traumatic BPI were studied. Most of them were male (91.5%) with mean age of 28 +/- 10.59 years. The most common cause was motorcycle accident, 143 cases (87.2%). The average time to electrodiagnostic study was 13.7 weeks after injury. The electrodiagnostic test revealed that 75% of the patients had BPI with total arm type and 65.2% with injury at root level. The most co-morbidity was fracture clavicle. The average time to surgery was 6.4 months after injury. The recovery time detected by neurophysiologic test for surgical group was 6-12 months after surgery. Most of the patients in conservative group were recovered within 12 months after injury.

Conclusion: Most of traumatic BPI injuries were complete total arm type, root level and had recovery after intervention.

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาระบาดวิทยา ผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย และการฟื้นตัวของระบบประสาทในผู้ป่วยบาดเจ็บร่างแหประสาท แขนจากอุบัติเหตุ

รูปแบบการวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง

สถานที่ทำการวิจัย: กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า

กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยบาดเจ็บร่างแหประสาทแขนที่มารับ การรักษา ณ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ ม.ค.2539 - ธ.ค.2548

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย สาเหตุของการบาดเจ็บ ตำแหน่ง ชนิด ความรุนแรง วิธีรักษา การฟื้นตัวของระบบ ประสาทหลังได้รับการรักษา จากเวชระเบียนและใบรายงาน ติดตามการรักษา และนำมาวิเคราะห์ผล

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยบาดเจ็บร่างแหประสาทแขนจำนวน 164 ราย เป็นชายร้อยละ 91.5 อายุเฉลี่ย 28 ปี สาเหตุพบบ่อยที่สุด คือ อุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ 143 ราย (ร้อยละ 87.2) ผู้ป่วยได้รับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยระยะเวลาเฉลี่ยที่ 13.7 สัปดาห์หลังจากเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เป็นการบาดเจ็บชนิด ร่างแหประสาททั้งหมด (total arm type) คิดเป็นร้อยละ 75 และ เป็นการบาดเจ็บระดับรากประสาท (root) คิดเป็นร้อยละ 65.2 การบาดเจ็บร่วมที่พบมากที่สุดคือ กระดูกไหปลาร้าหัก ผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ได้รับการผ่าตัดเฉลี่ย 6.4 เดือน หลังเกิดอุบัติเหตุ และตรวจพบมีการฟื้นตัว 6-12 เดือนหลัง การผ่าตัด และกลุ่มที่ได้รับการรักษาโดยไม่ผ่าตัดส่วนใหญ่มี การฟื้นตัวอยู่ในช่วง 12 เดือนแรก

สรุป: ผู้ป่วยบาดเจ็บร่างแหประสาทแขนส่วนใหญ่เป็นการ บาดเจ็บชนิดร่างแหประสาททั้งหมดที่ระดับรากประสาท และมีการฟื้นตัวเกิดขึ้นในระยะเวลา 6-12 เดือนหลังได้รับ การรักษา

 

Downloads