การศึกษาการตรวจเส้นประสาทมีเดียนและอัลนาโดยเทคนิคการ ตรวจรับที่กล้ามเนื้อลัมบริคัลที่ 2 และอินเตอร์ออสเซียส (2-LI)
Keywords:
เส้นประสาทถูกกดทับที่อุโมงค์ข้อมือ, ไฟฟ้าวินิจฉัย, การตรวจการชักนำกระแสประสาท, กล้ามเนื้อลัมบริคัล, กล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเชียส, carpal tunnel syndrome, electrodiagnosis, nerve conduction study, lumbrical muscle, interosseous muscleAbstract
Median and Ulnar Motor Nerve Conduction Study by the Second Lumbrical and Interosseous Technique (2-LI): Reference Values in Thais for Diagnosis of Carpal Tunnel Syndrome
Sriwitayanan S and Harnphadungkit K
Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University
Objectives: To determine reference value of median and ulnar motor latency difference using the 2nd lumbrical and interosseous technique (2-LI) for diagnosis of carpal tunnel syndrome (CTS) in Thai people.
Study Design: Cross-Sectional Study
Setting: Electrodiagnosis room, Department of Rehabilitation Medicine, Siriraj Hospital.
Subjects: Sixty-eight volunteer subjects with age ranged from 21 to 60 years.
Methods: All subjects underwent both 2-LI and conventional techniques. The 2-LI technique - median-ulnar motor latency comparison study was performed by recording at the 2nd lumbrical and interosseous muscles on anatomical landmark (just radial to midpoint of 3rd MCP) with measurement of 2-LI latency difference in millisecond (ms) from the same distance (8 cm) between active and stimulating electrodes. The conventional technique was the median-ulnar transcarpal (TC) study and median-ulnar latency difference of 0.5 ms indicated CTS.
Results: Participants had an average age of 41.7 (SD12.8) years. The transcarpal technique was applied as gold standard to divide subjects into 62 normal hands and the other 62 CTS hands. Average 2-LI latency difference in the normal group was 0.2 (SD 0.14) ms (mean+2SD = 0.48); and 1.9 (SD 1.44) ms in the CTS group. The reference cutoff value of 2-LI determined by the ROC curve was 0.5 ms and value equal or more than 0.5 ms suggested the diagnosis of CTS, with 95.2% sensitivity, 96.86% specificity and 96% accuracy compared with gold standard (TC).
Conclusion: The reference value of 2-LI latency difference for CTS diagnosis is equal or more than 0.5 ms. The 2-LI technique provided high sensitivity and specificity and would be useful for localizing the lesion. Due to safety and convenience, the 2-LI technique is recommended for diagnosis of CTS.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาค่าปกติ ค่าอ้างอิงของค่าความ แตกต่างของระยะเวลาการชักนำกระแสประสาทระหว่างการตรวจรับ ศักย์ไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่กล้ามเนื้อลัมบริคัลที่ 2 และอินเตอร์ ออซเซียส (2-LI) ในคนไทยเพื่อใช้วินิจฉัยเส้นประสาทมีเดียน ถูกกดรัดที่อุโมงค์ข้อมือ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการวิจัย: ห้องตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลศิริราช
กลุ่มประชากร: อาสาสมัคร 68 คน อายุ 21-60 ปี
วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเส้นประสาท มีเดียนและอัลนาในมือปกติและมือ CTS ระหว่างวิธี 2-LI กับวิธีทั่วไป โดย วิธี 2-LI ตรวจรับศักย์ไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อ ลัมบริคัลที่ 2 และอินเตอร์ออสเซียส ที่เลี้ยงโดยเส้นประสาท มีเดียนและอัลนาตามลำดับ และหาค่าความแตกต่างของ ระยะเวลาการชักนำกระแสประสาทสั่งการทั้งสอง หน่วยเป็น มิลลิวินาที ส่วน วิธีทั่วไป ประกอบด้วยการตรวจระยะเวลา การชักนำกระแสประสาท median-ulnar transcarpal (TC) โดยใช้ค่าความแตกต่าง TC ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 มิลลิวินาที เป็นเกณฑ์วินิจฉัยภาวะ CTS
ผลการศึกษา: ผู้ร่วมวิจัยมีอายุเฉลี่ย 41.7 (ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน 12.8) ปี ใช้ TC เป็นเกณฑ์ แบ่งเป็นมือปกติและมือ CTS กลุ่มละ 62 มือ ค่าเฉลี่ยค่าความแตกต่างโดยวิธี 2-LI ในมือปกติคือ 0.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.14) มิลลิวินาที และค่าเฉลี่ยบวกสองเท่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48 ส่วนค่าเฉลี่ยมือ CTS คือ 1.9 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.44) มิลลิวินาที เมื่อใช้ ROC curve คำนวณค่าอ้างอิงพบว่าการ วินิจฉัย CTS โดยใช้ค่าความแตกต่างมากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 มิลลิวินาที จะมีความไว 95.2%, ความจำเพาะ 96.8% และ ความแม่นยำ 96% เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน TC
สรุป: เมื่อใช้เทคนิควิธี 2-LI ในคนไทย ค่าอ้างอิงที่ใช้ในการ วินิจฉัย CTS คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 มิลลิวินาที ซึ่งมีความไวและความจำเพาะดีใกล้เคียงกับเกณฑ์วินิจฉัยภาวะ CTS เดิม ทั้งนี้วิธี 2-LI เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย ใช้เวลาน้อย มีประโยชน์ที่จะนำมาใช้ปฏิบัติจริงได้